บีตบ็อกซ์

บีตบ็อกซ์คืออะไร

บีตบ็อกซ์ (อังกฤษ: Beatboxing) เป็นวิธีทำเสียงลักษณะเสียงตีหรือเสียงกระทบ มักเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมฮิปฮอป (บางครั้งอาจเรียกว่า ปัจจัยที่ 5 ของฮิปฮอป) แต่ก็ไม่ได้จำกัดกับดนตรีฮิปฮอป เริ่มแรกเป็นศิลปะในการทำเสียงแบบจังหวะกลอง การทำจังหวะ โดยใช้เสียงจาก ปาก ริมฝีปาก ลิ้น เสียงร้อง และอย่างอื่นประกอบ และในบางครั้งก็นำการร้อง การทำเสียงเลียนแบบเทิร์นเทเบิ้ล การลอกเลียนแบบแตร เครื่องสาย และเครื่องดนตรีประเภทอื่น

ประวัติบีตบ็อกซ์

ก่อนที่สิ่งที่จะเรียกว่าเป็น บีตบ็อกซ์ จะเกิดขึ้น เทคนิคการใช้กลุ่มอวัยวะในการเปล่งเสียงอย่าง ปาก คอ จมูก เพื่อการทำเสียงเลียนแบบเครื่องดนตรีอยู่ในดนตรีอเมริกันมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 โดยอยู่ในเพลงพื้นบ้านทั้งของคนผิวขาวและผิวดำ เพลงทางศาสนา เพลงบลูส์ เพลง ragtime (แนวเพลงเต้นรำยุคปี 1900 ที่ส่งอิทธิพลต่อมาถึงเพลงบลูส์และแจ๊ส) การแสดงละครเบ็ดเตล็ดที่รวมการร้องและเต้นรำเข้าด้วยกัน (vaudeville) และเพลง hokum (เพลงบลูส์แขนงหนึ่งที่มีเนื้อหาตลกโปกฮา) ขณะเดียวกัน สิ่งที่น่าจะส่งอิทธิพลต่อการกำเนิดขึ้นของบีตบ็อกซ์ก็คืออิทธิพลจากดนตรีพื้นเมืองแอฟริกัน ที่นิยมใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายสร้างเสียงเลียนแบบเครื่องเคาะ และการสร้างเสียงโดยการหายใจเข้าออกแรง ๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในเทคนิคของบีตบ็อกซ์ในปัจจุบัน

แล้วคำว่า ‘บีตบ็อกซ์’ มาจากไหน?

บีตบ็อกซ์ เป็นศัพท์สแลงที่ใช้เรียกดรัมแมชชีนรุ่นแรก ๆ ของ Roland ซึ่งสมัยนั้นยังเรียกว่าเป็น ‘rhythm machine’ เช่น Roland TR Rhythm Series TR-33 และ TR-55 ที่ออกสู่ตลาดในปี 1972 ต่อมา คำว่า บีตบ็อกซ์ ถูกนำไปใช้เรียกรุ่นของดรัมแมชชีนรุ่นต่อมาของ Roland อย่าง Roland CR series และ TR series 

นอกจากนี้ ยังมีผู้สันนิษฐานว่า คำว่า บีตบ็อกซ์ อาจจะมีที่มาจากเครื่อง rhythm machine รุ่นแรกของโลก ‘Wurlitzer Sideman’ ที่ถูกผลิตระหว่างปี 1959 – 1964 ซึ่งมีลักษณะเป็นกล่องใบใหญ่ ก็เป็นไปได้ว่าคำว่า บีตบ็อกซ์ อาจจะมีที่มาจากเจ้าเครื่องนี้ก็เป็นได้

คำว่า บีต บ็อกซ์ ถูกใช้เพื่อสื่อความหมายถึงเครื่องประดิษฐ์เสียงดนตรีเป็นครั้งแรก โดยถูกใช้เรียกเครื่องอนาล็อกดรัมแมชชีนรุ่น ELI CompuRhythm CR-7030 Beat Box และสิ่งที่เป็น ‘ต้นเสียง’ ให้กับนักบีตบ็อกซ์ยุคแรก ๆ และเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ทางดนตรีที่ทำให้ฮิปฮอป และ ดนตรีเต้นรำอิเล็กทรอนิก (EDM) ถือกำเนิดขึ้นบนโลกอย่างมั่นคงก็คือดรัมแมชชีน Roland TR-808 ที่วางจำหน่ายในปี 1982 ซึ่งถือเป็นดรัมแมชชีนที่เปิดโลกดนตรีตะวันตกไปสู่มิติใหม่ ๆ อย่างแท้จริง 

ในช่วงปี 1990s บีตบอกซ์ก็แพร่หลายไปในแวดวงฮิปฮอปเหมือนไฟลามทุ่งจนดูเหมือนว่าใคร ๆ ก็ทำได้ และทุกการแสดงของกลุ่มนักดนตรีฮิปฮอป สิ่งที่จะขาดไม่ได้ก็คือ บีตบ็อกซ์ จนทำให้หลายคนรู้สึกเฝือ ๆ น่าเบื่อไปบ้าง แต่บีตบ็อกซ์ก็ได้เดินทางไปไกลกว่าจุดเริ่มต้นที่มันถือกำเนิดมา Bobby McFerrin นำบีตบ็อกซ์เข้าไปเป็นส่วนผสมในเพลงแจ๊ส The HouseJacks นำบีตบ็อกซ์เข้าไปคลุกกับเพลงร็อก เกิด Queen Latifah เป็นนักบีตบ็อกซ์ให้กับ Ladies Fresh กลุ่มศิลปินฮิปฮอปหญิงล้วนกลุ่มแรก Rahzel และ Kenny Muhammad ที่ถือว่าเป็นแกนนำบีตบ็อกซ์คลื่นลูกที่สอง และเป็นตัวพ่อของวงการบีตบ็อกซ์ร่วมสมัย ก็ได้พัฒนาเทคนิคต่าง ๆ ขึ้นอีกมากมาย ศิลปินบางกลุ่มนำบีตบ็อกซ์เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของดนตรีเต้นรำอย่าง drum and bass ในปี 2005 มีการแข่งขันบีตบ็อกซ์นานาชาติครั้งแรกที่เมืองไลป์ซิก (Leipzig) ในเยอรมนี แม้แต่ศิลปินอย่าง Justin Timberlake, Daniel Beddingfield หรือ Björk ก็นำบีตบ็อกซ์ไปเป็นส่วนหนึ่งของเพลงของพวกเขา

บีทบ็อกซิ่งสมัยใหม่

อินเทอร์เน็ตมีส่วนอย่างมากในความนิยมของบีทบ็อกซ์สมัยใหม่ Alex Tew (aka A-Plus) เริ่มชุมชนออนไลน์แห่งแรกของบีทบ็อกซ์ในปี 2000 ภายใต้แบนเนอร์ของ HUMANBEATBOX.COM ตัวอย่างแรกของ beatboxing ที่ทันสมัยได้รับการเห็นใน 2001 เกาหลีใต้ ตลกโรแมนติกภาพยนตร์เรื่องMy Sassy สาว ในปี 2544 Gavin Tyte สมาชิกของชุมชนนี้ได้สร้างบทแนะนำและวิดีโอสอนเกี่ยวกับบีทบ็อกซ์ขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก ในปี พ.ศ. 2546 ชุมชนได้จัดการประชุม Human Beatbox Convention ครั้งแรกของโลกที่ลอนดอน โดยมีศิลปินบีทบ็อกซ์จากทั่วทุกมุมโลก ความนิยมในปัจจุบันของ Beatboxing ส่วนหนึ่งมาจากการเผยแพร่จากศิลปินเช่น Rahzel , RoxorLoops , Reeps Oneและ Alem ในมหาสมุทรแปซิฟิก บีทบ็อกซ์ชาวอเมริกันเชื้อสายฮาวาย เจสัน ทอม ผู้ร่วมก่อตั้ง Human Beatbox Academy เพื่อขยายขอบเขตศิลปะของบีทบ็อกซ์ผ่านการแสดงโฆษณา การพูดคุย และการประชุมเชิงปฏิบัติการในโฮโนลูลู เมืองใหญ่ทางตะวันตก และ ใต้สุดของสหรัฐอเมริกาของรัฐฮาวายที่ 50 ของสหรัฐอเมริกา บางครั้ง นักบีทบ็อกซ์สมัยใหม่จะใช้มือหรือส่วนอื่นของร่างกายเพื่อขยายสเปกตรัมของเอฟเฟกต์เสียงและจังหวะ บางคนได้พัฒนาเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการเป่าและดูดอากาศรอบๆ นิ้วเพื่อสร้างเสียงที่เหมือนจริงมากจากการ scatch ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า ” Crab Scratch ” เทคนิคการใช้มือ อีกวิธีหนึ่ง ได้แก่ “การแตะคอ” ซึ่งเกี่ยวข้องกับบีทบ็อกซ์ที่เอานิ้วแตะคอขณะที่พวกเขาร้องหรือฮัมเพลงในลำคอ นักมวยในยุคนี้สามารถสร้างเสียงที่แตกต่างกันได้ถึง 8 เสียงในเวลาเดียวกัน

และเชื่อเถอะ ว่าตราบใดที่ปากของมนุษย์ยังขยับได้ เราก็จะยังได้ยินเทคนิคบีตบ็อกซ์ใหม่ ๆ ให้ได้ตื่นตะลึงกันอยู่เสมออย่างแน่นอน

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://hmong.in.th

https://www.fungjaizine.com

https://th.wikipedia.org