พื้นฐานการฝึกเป็นแร็ปเปอร์
โย่ว โย่ว ไม่ว่าช่วงนี้ใครๆก็คงจะอยากเป็น Rapper กันใช่ไหมล่ะ เพราะกระแสในบ้านเราช่วงนี้ก็นับได้ว่ามาเเรงแซงโค้งเลยทีเดียว และสำหรับใครที่ชื่นชอบการ Rap จนซึมเข้าถึงจิตวิญญาณก็คงจะ พูด เขียน อ่านเป็นภาษา Rap อย่างแน่นอน
Rap คืออะไร
Rap (แร็ป) คือการพูดที่ใส่จังหวะจะโครงลงไป ยิ่งมีคำที่เป็นเสียงสัมผัสกันด้วยก็จะยิ่งดีเพราะว่าจะทำให้การแร็ปนั้นมีความลื่นไหล น่าฟัง และจำได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ซึ่งการแร็ปก็เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบของแนวเพลง Hip-Hop นั่นแหละค่ะ ไม่ต้องพยายามจับทั้ง 2 อย่างนี้แยกออกจากกันแต่อย่างใด เรียกได้ว่า Hip-Hop คือทำนอง Rap ก็เป็คำร้องที่ต้องสอดประสานรับกันนั่นเอง
คุณสมบัติสำคัญที่แร็ปเปอร์ควรมี
มันไม่สำคัญว่าต้องร้องเก่ง เพราะการร้องฝึกฝนได้ แต่เรื่องเขียนเพลงเก่งนั้นสำคัญ ต้องใช้เวลาและอยู่ที่พรสวรรค์ด้วย คือต้องแร็ปได้ และเขียนเนื้อเป็น ต้องฝึกฝนควบคู่กัน
การฝึกแรพ
- หาเนื้อเพลง
- ฟังท่อนแรพ สังเกตการรวบคำ (เช่น ‘นอ ออบชี’ แรพว่า ‘นอบชี’)
- ลดสปีดเพลงลงช้าๆ
- ลองแรพตาม และทำซ้ำๆจนกว่าจะแรพทัน
- เพิ่มความเร็วเพลงไปเรื่อยๆ แรพซ้ำๆ จนเพิ่มมาถึงความเร็วปกติ
วิธี/เทคนิคการแรพ
- ออกเสียงให้ชัดเจน ไม่งึมงำ
- พยายามควบคุมสำเนียง อย่าให้ไทยจ๋า จะแปลก
- อย่าแรพโมโนโทน ถ้าท่อนแรพไม่มีโน้ตเสียง ต้องมีน้ำหนัก ‘หนัก’ และ ‘เบา’ ของแต่ละคำ
- อย่ายืนแข็งทื่อ หน้าตาย ท่าทางคิดอะไรออกก็ทำ
- ในท่อนแรพจะมีช่วง Stop คือการตัดคำแบบตัดฉับ เช่น ‘ชอง ตอลรยอจี กอนนอวานา’ ช่วงสต๊อปจะเป็น ‘ชอง ตอลรยอ จิก กอนนอวานา’ จากข้อ 3. จะมีเทคนิคการฝึกอีกอย่างคือ ปริ้นท์/จดเนื้อเพลงออกมา ตั้งใจฟังในเพลง ว่าคำไหน พยางค์ไหนนักร้องลงเสียงหนัก แบบกระแทกๆ วงกลม คำ/พยางค์ นั้นเอาไว้
เพิ่มเติมเทคนิค
การสังเกตเอกลักษณ์การแรพของศิลปินต้นแบบก็เป็นวิธีที่ดีอีกวิธีนึงนะ เช่น โฮยา INFINITE จะแรพแบบยานๆ ยงกุก B.A.P จะออกทางพวกคนผิวดำ คือหนืดและหนัก Zelo B.A.P จะออกลนๆ และเล่นช่องปากค่อนข้างเยอะ
คิดอย่างแร็ปเปอร์
บ่อยครั้งที่เรามักได้ยินผู้คนบางกลุ่มตัดสินว่าการแร็ปนั้นไม่ต่างจากการบ่นเพ้อเจ้อไปงั้นๆ แต่ความเป็นจริงแล้ว การแร็ปคือศิลปะในการสื่อสารข้อความที่มีความหมายอย่างคมคายด้วยถ้อยคำที่สัมผัสคล้องจองลงบนจังหวะเพลง ดังนั้นจุดเริ่มต้นของการเป็นแร็ปเปอร์คือไอเดียที่ต้องการนำเสนอออกไป ซึ่งส่วนใหญ่มักมาจากทัศนคติ ประสบการณ์ชีวิต หรือจินตนาการในแบบที่เป็นตัวของตัวเองนี่แหละ
เมื่อเรามีเป้าหมายที่ชัดเจนแล้วว่าต้องการจะสื่ออะไรออกไป อีกหนึ่งความคิดของแร็ปเปอร์ที่ตามมาแบบอัตโนมัติ ก็คือวิธีการถ่ายทอดที่แน่นอนว่าต้องมีสำบัดสำนวนหรืออยากใส่จังหวะจะโคน ให้ต่างจากการพูดบอกเล่าเหมือนคุยกับเพื่อนธรรมดา ซึ่งถ้าใครเริ่มมีภาพในใจคร่าวๆ แบบนี้แล้วก็ถือว่าเริ่มมาถูกทางแล้ว
ฟังให้มาก
แม้การฟังเพลงที่มีท่อนแร็ป หรือเพลงแนวฮิปฮอป อาร์แอนด์บี จะเป็นสิ่งที่ชี้ชวนให้เรานึกอยากที่จะแร็ปมาตั้งแต่ต้น แต่นั่นยังไม่เพียงพอต่อการอัปสกิลให้เราเป็นแร็ปเปอร์ที่เก่งได้ เพราะการฟังเพลงเพื่อศึกษาดนตรี ทักษะการร้องของนักร้องแต่ละคน โดยไม่จำกัดอยู่แค่ดนตรีแนวนี้เท่านั้น จะทำให้เราเจอความแปลกใหม่ และความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการแร็ปในสไตล์ที่เราชอบได้
ยกตัวอย่างเช่น การตั้งใจฟังบีท (Beat) หรือทำนองดนตรีเพื่อนับจังหวะดูว่าควรใส่เนื้อร้องเข้าไปตอนไหน นักร้องเน้นเสียงหนัก-เบายังไง เขาแบ่งจังหวะการหายใจยังไงเพื่อไม่ให้เหนื่อย หรือถ้าใครชอบดูโชว์ด้วยแล้วล่ะก็ยิ่งดีใหญ่ เพราะจะได้เห็นทักษะการคุมไมค์ให้เข้ากับทิศทางเสียงของศิลปินที่เป็นประโยชน์ในการโชว์ของเราอีกด้วย
ฉลาดใช้คำ
สำหรับคนที่เพิ่งเริ่มแร็ปแล้วไม่ถนัดกับการฟรีสไตล์ (แร็ปสดแบบไม่มีบท) ก็จำเป็นต้องลองฝึกการเขียนไรม์ (Rhyme) หรือคำสัมผัสด้วยตัวเองเพื่อฝึกแร็ปในเบื้องต้นก่อน ซึ่งอาจใช้พื้นฐานง่ายๆ ด้วยการเขียนประโยคคล้ายกลอนแปดทีละ 1 บาร์ หรือ 1 ประโยคมาต่อกัน โดยให้คำสุดท้ายคล้องจองกัน เช่น
- หน้าที่ชาวไทยเขาสอนให้ใช้สิทธิ์เคารพเสียง
- แต่ทำไมตอนผมอธิบายผู้ใหญ่ต้องหาว่าเถียง
จากนั้นจึงใส่จังหวะให้กับไรม์ของเรา ซึ่งสามารถนับจังหวะเองหรือลองใช้จังหวะดนตรีสำเร็จรูปจากบีทต่างๆ ว่ามีคำที่ยาวเกินจะแร็ปได้ทันแล้วต้องตัดออกมั้ย หรือบาร์ไหนสั้นไปจนต้องเติมคำอื่นๆ เพื่อความสละสลวย โดยจะมีการทำซ้ำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนครบหนึ่งท่อนที่มักมีจะอย่างน้อย 16 บาร์
และถ้าใครเลือกแต่งไรม์ด้วยวิธีนี้ ควรแต่งไปพร้อมแร็ปเต็มเสียงไปด้วยทีละบาร์ให้รู้ว่าเราจะแบ่งจังหวะหายใจตรงไหนได้บ้าง เพื่อจะได้ลดหรือเพิ่มคำไปตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะถ้าแต่งไว้รวดเดียวทั้งท่อนแล้วเกิดมีคำที่เยอะเกินไปจนแร็ปไม่ทัน อาจทำให้ต้องตัดบาร์เด็ดๆ ที่เป็น Punchline ออกไปได้อย่างน่าเสียดาย
นอกจากนี้ การศึกษางานเขียน หรือแม้กระทั่งคำศัพท์ต่างๆ อยู่บ่อยครั้ง ยังเป็นการซึมซับสไตล์การใช้คำได้อย่างสร้างสรรค์ ที่ช่วยทำให้สมองของเรากลายเป็นคลังคำคมพร้อมใช้งาน สามารถงัดมุกเด็ด หรือศัพท์เท่ๆ ออกมาใช้ได้อย่างฉับไวอีกด้วย ซึ่งถือเป็นข้อได้เปรียบในการเขียนไรม์หรือแร็ปสดเชียวล่ะ
ออกเสียงชัด
หลังจากที่เราได้เปล่งวาจาคำไรม์คมๆ ของเราออกไปแล้ว แร็ปเปอร์ส่วนใหญ่มักพบว่าตัวเองมีปัญหาในการออกเสียงไม่ชัด ซึ่งอาจเป็นเพราะการออกเสียงยังไม่เต็มเสียง การรีบร้องให้ลงจังหวะเกินไป หรือหายใจไม่ทัน จนทำให้ใจความในการแร็ปต้องขาดตอนไป โดยสามารถแก้ไขด้วยการเขียนไรม์ที่บาร์นึงใช้คำไม่เยอะ แร็ปช้าๆ ชัดๆ ไม่ต้องตะโกน แล้วซ้อมให้แม่นขึ้นทีละ 4 บาร์ เพื่อให้ลิ้นไม่พันกัน
อย่าอ่อนซ้อม
นอกจากการฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้เราเราแม่นยำในจังหวะในการแร็ปจนโฟลว์ (Flow) หรือแร็ปได้อย่างลื่นไหลแล้ว ยังสามารถสร้างความมั่นใจให้เราได้มากขึ้น โดยเฉพาะคนที่เตรียมตัวจะไปแข่งขันหรือโชว์ในสถานที่ที่มีคนเยอะ บรรยากาศกดดัน ถ้าได้ทำการบ้านมาดีจะช่วยลดปัญหาการตื่นเวที ที่ถือเป็นข้อดีในการหาจังหวะเหมาะเพื่อหยอดลูกเล่นคำต่างๆ หรือ ฟลิป (Flip) ได้อย่างคมคาย รู้ตำแหน่งเคลื่อนไหวโยกย้ายร่างกายไปบนเวทีอย่างไม่เคอะเขิน และเรียกความสนใจจากคนดูได้เป็นอย่างดีเลยล่ะ