วันไหล ทำไมต้องก่อเจดีย์เพราะว่า

วันไหล

ที่มา “วันไหล” หรือ “ประเพณีก่อพระทรายน้ำไหล” วันทำบุญขึ้นปีใหม่ไทยหลังสงกรานต์ ของภาคตะวันออกและบางจังหวัดในภาคกลาง เมื่อถึงเทศกาลสงกรานต์ที่ตามประเพณีมีทั้งหมด 3 วัน เรามักได้ยินการพูดถึง “วันไหล” ในช่วงนี้เช่นกัน โดยประเพณีดังกล่าว เดิมมีชื่อเรียกว่า ประเพณีก่อพระทรายน้ำไหล วันทำบุญขึ้นปีใหม่ที่นิยมปฏิบัติสืบต่อกันมาในภาคตะวันออก และเขตภาคกลางบางจังหวัด ซึ่งมีกำหนดหลังวันสงกรานต์ประมาณ 5-6 วัน

วันไหลสงกรานต์คืออะไร

เดิมที วันไหล คือ ประเพณีการก่อพระทรายน้ำไหล ซึ่งเป็นพิธีของชาวเล หรือผู้ที่มีพื้นที่อยู่ติดทะเล จัดขึ้นหลังช่วงสงกรานต์ โดยผู้ที่มาร่วมงานจะต้องร่วมกันก่อทรายให้ครบ 84,000 กอง ซึ่งเป็นจำนวนเท่ากับพระธรรมขันธ์ ประดับตกแต่งด้วยธงและดอกไม้ ก่อนจะมีการทำบุญ กินเลี้ยง เฉลิมฉลองกันอย่างสนุกสนาน และช่วยขนทรายเข้าวัดเพื่อนำไปก่อสร้างในลำดับต่อไปหลังเสร็จพิธีทางวัดก็ได้ทรายไว้สำหรับสร้างเสนาสนะ ปูชนียสถานในวัด หรือถมบริเวณวัดต่อไป ส่วนพระสงฆ์ก็ได้เครื่องปัจจัยไทยธรรมต่าง ๆ

ช่วงปลายฤดูร้อนจะย่างเข้าฤดูฝน วัดใดที่ใกล้แหล่งน้ำ ทั้งห้วย หนอง คลอง บึง จะมีการจัดประเพณีก่อพระทรายน้ำไหลขึ้น โดยการขุดลอกทรายที่ฝนซัดไหลมาลงรวมขังอยู่ตามแหล่งน้ำ เป็นการขนทรายเข้าวัด และถือเป็นการพัฒนาท้องถิ่นด้วยในคราวเดียวกัน

การรวมแรงคนในพื้นที่เพื่อขุดลอกแหล่งน้ำให้สะอาด เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนน้ำฝนจะได้ไหลสะดวก คู คลอง หนอง บึง ไม่ตื้นเขิน หมู่บ้านสะอาด น้ำก็ไหลได้ตามปกติ นี่คือประโยชน์ที่ได้จากการก่อพระทรายน้ำไหลในเทศกาล

ต่อมาเมื่อสภาพบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไป ความเจริญทางวิทยาการใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น การขนทราย โกยทราย หาบทราย เข้าวัดคนละหาบสองหาบก็เปลี่ยนมาเป็นซื้อทรายเป็นคันรถขนเข้าวัดแทน และหลายวัดก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ทราย

ปัจจุบัน ประเพณีการก่อพระทรายน้ำไหล เหลือเพียง “วันไหล” เท่านั้น เนื่องจากวัดหรือศาสนสถานไม่ได้มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ทรายในการก่อสร้าง ในขณะเดียวกันก็ไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานคนในการขนทราย กิจกรรมเหล่านี้จึงลดหายไปในบางพื้นที่ และยังคงไว้แต่การเล่นน้ำเท่านั้น

สงกรานต์

วันไหล จัดวันไหนบ้าง

โดยปกติวันไหลมักนิยมจัดขึ้นหลังจากช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประมาณวันที่ 17-19 เมษายน ของทุกปี แต่ทั้งนี้เราจะเห็นว่าปัจจุบันแต่ละพื้นที่ที่จัดงานวันไหลอาจจะมีการยืนหยุ่นที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสม และมีกิจกรรมหลัก ๆ ได้แก่ การแห่ขบวนสงกรานต์และขบวนรถตกแต่งสวยงาม, การสรงน้ำพระ, กิจกรรมรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ และการเล่นน้ำสาดน้ำต่าง ๆ

ประเพณีวันไหลจัดที่ไหนบ้าง

วันไหลพระประแดง 2566 จังหวัดสมุทรปราการ

งานวันไหลพระประแดง จัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-23 เมษายน 2566 (วันที่ 23 เมษายน 2566 พิธีเปิดงานประเพณีสงกรานต์) ณ บริเวณตลาดพระประแดง สมุทรปราการ

อีกหนึ่งสถานที่จัดงานประเพณีวันไหลอย่างยิ่งใหญ่ ทั้งยังเป็นเทศกาลสำคัญของชาวไทยเชื้อสายมอญ หรือ ชาวไทยรามัญ ที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ผู้คนต่างออกมาเล่นน้ำสาดความสนุกกันอย่างเต็มที่

วันไหลพัทยา 2566 จังหวัดชลบุรี

งานวันไหลพัทยา จัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-19 เมษายน 2566 พบกับกิจกรรมหลากหลาย ขบวนแห่สุดอลังการตลอดแนวหาดพัทยา

วันที่ 18 เมษายน 2566 วันไหลนาเกลือ ณ ลานโพธิ์นาเกลือ

วันที่ 19 เมษายน 2566 วันไหลพัทยา ณ ชายหาดพัทยากลาง

ทั้งนี้ สำหรับรายละเอียดต่าง ๆ จะมีมาอัปเดตอยู่เรื่อย ๆ ให้ทุกคนเตรียมตัวติดตามกันดี ๆ เพราะบรรยากาศความสุขและความสนุกจะกลับมาอีกครั้งเหมือนดังเช่นหลายปีที่ผ่านมา ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เฟซบุ๊ก สายตรงนายกเมืองพัทยา

วันสงกรานต์

วันไหลบางแสน 2566 จังหวัดชลบุรี

ข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก Bangsaensook บางแสนสุข ได้แจ้งกำหนดการคร่าว ๆ เกี่ยวกับการจัดงานวันไหลบางแสน โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-17 เมษายน 2566 กับหลากหลายกิจกรรมทั้งการเดินชมพระทราย, ชมการละเล่นพื้นบ้าน, เดินช้อปสินค้า และเลือกซื้ออาหาร ชมคอนเสิร์ตต่าง ๆ

สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เฟซบุ๊ก Bangsaensook บางแสนสุข

ทั้งนี้ ไม่ใช่แค่ที่บางแสนและพัทยาเท่านั้นที่มีการจัดงานวันไหล เรียกได้ว่าเกือบทั่วจังหวัดชลบุรีก็มีการจัดงานวันไหลเช่นกัน ได้แก่

วันที่ 11 เมษายน 2566 วันไหลบ่อวิน (ห้วยปราบ)

วันที่ 13 เมษายน 2566 ประเพณีสงกรานต์เมืองชลบุรี 

วันที่ 14 เมษายน 2566 วันไหลพนัสนิคม  

วันที่ 15 เมษายน 2566 วันไหลเกาะโพธิ์

วันที่ 16-17 เมษายน 2566 วันไหลบางแสน

วันที่ 18 เมษายน 2566 วันไหลนาเกลือ/วันไหลบางพระ/ไหลเกาะสีชัง

วันที่ 20 เมษายน 2566 วันไหลบางเสร่

วันที่ 23 เมษายน 2566 วันไหลบ้านบึง

วันไหลปลวกแดง 2566 จังหวัดระยอง

งานวันไหลปลวกแดง จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-17 เมษายน 2566 จาก เฟซบุ๊ก เทศบาลตำบลบ้านปลวกแดง จังหวัดระยอง ได้ประกาศถึงกำหนดการจัดงานคร่าว ๆ ดังนี้

วันอาทิตย์ที่ 16 เมษายน

ก่อพระเจดีย์ทราย (สามารถสมัครได้ที่หน้างาน ณ วัดไพรสณฑ์ ตั้งแต่เวลา 09.00 เป็นต้นไป หรือสมัครได้ที่สำนักงานเทศบาลตำบลบ้านปลวกแดง)

วันจันทร์ที่ 17 เมษายน (วันไหลปลวกแดง)

  • ขบวนแห่หลวงพ่อโพธิ์
  • สรงน้ำพระและรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ
  • รำวงย้อนยุค
  • มวยไทย
  • การแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน

วันไหลสงกรานต์

บทความน่าสนใจ 

คำอวยพรวันสงกรานต์ใช้ได้ทุกวัย

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://travel.kapook.com

https://mgronline.com

https://www.prachachat.net

https://www.dailynews.co.th

https://www.pptvhd36.com

https://www.thairath.co.th