แบรนด์สเก็ตบอร์ด

10 แบรนด์สเก็ตบอร์ดระดับโลก

ถ้านักเซิร์ฟรักอิสระบนเกลียวคลื่น และนักสโนวบอร์ดหลงใหลหิมะหนาและหน้าผาสูงชัน ‘สเก็ตบอร์ด’ ก็เป็นสิ่งที่ช่วยดึงเสน่ห์ของมุมเมืองออกมาได้อย่างมีสีสัน หนึ่งในกีฬาเอ็กซ์ตรีม (Extreme Sport) ที่ได้รับความนิยมมาทุกยุคสมัยซึ่งเหมาะของคนที่ชื่นชอบความท้าทายบนแผ่นกระดาน 4 ล้อด้วยงานออกแบบลวดลายที่ช่วยบ่งบอกถึงความเป็นคุณ

Supreme

supreme

ถ้าพูดถึงแบรนด์สเก็ตบอร์ดระดับโลกแล้ว จะไม่พูดถึงแบรนด์สีแดงขาวสุดเอกลักษณ์นี้คงไม่ได้ ด้วยฉายา “Chanel แห่งวงการสตรีทแวร์” ที่เป็นดั่งความใฝ่ฝันสูงสุดของชาวสตรีททุกหมู่เหล่า Supreme เริ่มต้นขึ้นเมื่อชายชาวอังกฤษนาม James Jebbia ได้ข้ามทะเลมาทำงานในนิวยอร์คในปี 1983 ควบคู่กับการทดลองเปิดร้านเสื้อผ้าหลายแห่ง ขณะเดียวกันก็ได้คลุกคลีกับสตรีทแฟชั่นจากการทำงานกับ Stüssy สตรีทแบรนด์ยอดฮิตในเวลานั้น

Stüssy

Stussy

เป็นอีกหนึ่งแบรนด์สตรีทที่มีต้นกำเนิดมาจากแคลิฟอร์เนียใต้ แต่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากสไตล์ของนักโต้คลื่นและแนวดนตรีฮิปฮอปแทน โดยเริ่มต้นเมื่อปี 1980s เมื่อผู้ก่อตั้ง Bred Shawn Stussy ได้เริ่มจำหน่ายกระดานโต้คลื่นที่นำรูปทรงกระดานใหม่ ๆ ที่มีประสิทธิภาพ มารวมเข้ากับสไตล์ดนตรีอย่างฮิปฮอป เรกเก้ พังค์ และนิวเวฟ ซึ่งสินค้าทุกชิ้นก็จะมีซิกเนเจอร์คือลายเซ็นนามสกุล Stüssy ของเขาติดอยู่ด้วยทุกชิ้น ซึ่งลายเซ็นสวย ๆ นี้ก็ไม่ได้ได้มาจากใครที่ไหน นักเขียนกราฟฟิตี้และนักวาดภาพแอ็บสแตร็ค Jan Frederick Stüssy ลุงของเขาเอง

Vans

van

“Off The Wall” ซึ่งประวัติศาสตร์ของ Vans เริ่มต้นตั้งแต่ปี 1966 ที่ 2 พี่น้องตระกูล Van Doren จับมือกับพาร์ทเนอร์อีก 2 คน เปิดธุรกิจรองเท้าขนาดเล็กขึ้นที่แคลิฟอร์เนีย ซึ่งธุรกิจนี้ก็ฉายแววรุ่งเรืองตั้งแต่เช้าวันแรก เพราะรองเท้าของพวกเขาขายได้ถึง 12 คู่ และในปี 1970s รองเท้า Vans ก็แพร่หลายไปยังกลุ่มนักสเก็ตบอร์ดในแคลิฟอร์เนียใต้ที่ชื่นชอบรองเท้าที่เหนียวและทนทาน ทำให้เกิดเป็นชื่อ House of Vans ขึ้นในที่สุด Vans ยังมีจุดเด่นอีกอย่างคือการเป็นรองเท้าที่ “customized เองได้” เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2004 ที่ทางแบรนด์เปิดให้แฟชั่นดีไซน์เนอร์หน้าใหม่เข้ามาออกแบบรองเท้าของตัวเองทางเว็บไซต์ หรือจะเป็น Vans Custom Culture แคมเปญแข่งขันออกแบบรองเท้าสำหรับเด็กนักเรียนในอเมริกา และนี่ก็นำไปสู่การ Collaboration ของ Vans กับแบรนด์ดังอีกมากมายจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น 2007 Vans x Simpson, 2013 Vans x Metallica หรือ 2014 Vans feat. Starwars

Thrasher

thrasher

หลายคนอาจไม่รู้ว่าเสื้อ Thrasher ลายไฟที่ฮิตกันอยู่ช่วงหนึ่ง จริง ๆ แล้วมาจาก Thrasher Magazine ไบเบิลของเหล่านักสเก็ต ในช่วงแรกก่อตั้งในปี 1981 Eric Swenson และ Fausto Vitello ต้องการจะใช้มันเพื่อโปรโมตแบรนด์สเก็ตบอร์ดและอุปกรณ์เสริมของเขาเท่านั้น แต่หลังจากการดำรงตำแหน่งบรรณาธิการเมื่อปี 1993 ของ Jake Phelps แม็กกาซีนนี้ก็กลายมาเป็นแม็กกาซีนสเก็ตบอร์ดเต็มตัว แถมฉีกภาพลักษณ์ธรรมดาออกแล้วดึงเอาตัวตนดิบเท่ของกีฬาสเก็ตบอร์ดออกมามากขึ้น ซึ่งต่อมาก็ได้ทำการผลิตเสื้อผ้าออกมาและได้รับความนิยมล้นหลามตั้งแต่ยุค 80 จนกระทั่งตอนนี้ที่ดีไซน์เสื้อผ้าแนวสตรีทออกมามากขึ้นตามความนิยมในยุคนี้ อย่างเสื้อลายไฟลุก คอลเลคชันปี 2016  ถือเป็นอีกหนึ่ง Trend Setter ให้กับวงการสเก็ตบอร์ดในปัจจุบัน

Palace Skate

palace skate

Palace Skateมาถึงคิวแบรนด์สเก็ตแท้จากแดนผู้ดีอย่างเกาะอังกฤษกันบ้าง ด้วยโลโก้สะดุดตารูปสามเหลี่ยมที่มีชื่อ Palace ติดอยู่ทั้ง 3 ด้าน ชื่อนี้ได้มาจากแลนด์มาร์คของย่าน Southbank ในกรุงลอนดอน ซึ่งภาษาเด็กสเก็ตสุดเฮี้ยวที่นั่นเรียกกันว่า “The Palace” เป็นที่มาของชื่อ ‘Palace Wayward Boys’ Choir’ กลุ่มสเก็ตบอร์ดที่ดังที่สุดในอังกฤษ ที่ Lev Tanju เจ้าของแบรนด์ Palace Skate เป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่มด้วย เริ่มต้นมาจากการทำเสื้อผ้าขึ้นมาใส่เองเฉพาะกลุ่ม จนกระทั่งเมื่อ Supreme แบรนด์สเก็ตยักษ์ใหญ่จากอเมริกาได้เริ่มบุกตลาดยุโรป รวมไปถึงการมาเปิดสาขาที่ลอนดอน จึงทำให้ Palace Skate ได้อานิสงส์ความคูลของ Supreme ดึงให้แบรนด์สตรีทเฉพาะกลุ่มนี้ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และเติบโตขึ้นไปเหยียบเวทีโลกได้ นอกจากนี้ Palace Skate ยังมีกลิ่นอายความเป็นเด็กสเก็ตของอังกฤษ ที่แตกต่างจากทางอเมริกาอีกด้วย

Polar Skate

polar skate

มาไกลกันอีกนิดที่ฝั่งยุโรป กับ Polar Skate Co. ที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศสวีเดนโดย ex-Cliché และ Emerica rider Pontus Alv ที่ทำการเปิดตัวแบรนด์แบบคูล ๆ ไปเมื่อปี 2013 ด้วยสไตล์เสื้อผ้าและสเก็ตบอร์ดที่ไม่เหมือนใคร แถมยังเชิญชวนแฟน ๆ ให้เรียนรู้การเล่น Wall Ride อีกด้วย ซึ่งหลังจากประสบความสำเร็จในฐานะแบรนด์สเก็ตบอร์ดที่ฟีเจอร์ผลงานศิลปะและภาพถ่ายของตัว Pontus เองแล้ว Polar ก็ขยับขยายไปสู่การดีไซน์เสื้อผ้าคุณภาพสูงที่เผสมผสานระหว่างเสื้อผ้ากีฬาและสไตล์สเก็ตแบบดั้งเดิม เสื้อผ้าของ Polar จะเน้นความเรียบเท่ ไม่ฉูดฉาด ใช้สีเย็น ๆ โทนพาสเทลแบบสีม่วงอ่อนหรือสีเขียวมิ้นท์ สไตล์เสื้อผ้ามีความมินิมอลแบบที่สามารถเป็น everyday wear ได้ แต่ยังไม่ทิ้งความเป็น Skateboarder Apparel ที่มีตั้งแต่ Hoodie & Sweatshirt เสื้อยืด กางเกง ไปจนถึง หมวก Beanie ถุงเท้า และกระเป๋าสตางค์ และที่ไม่พูดถึงไม่ได้คือสเก็ตบอร์ดของทางแบรนด์เองที่ผสมผสานสีสันที่ไม่ฉูดฉาดเข้ากับงานอาร์ตของ Pontus เป็นสเก็ตบอร์ดสายมินิมอลที่เมื่ออยู่คู่กับเสื้อผ้าแล้วจะคอมพลีทลุคสุด ๆ

BAPE

bape

มาถึงแบรนด์สเก็ตจากฝั่งเอเชียกันแล้ว กับโลโก้ลิงที่เราคุ้นเคยกันดี กับแบรนด์ BAPE หรือ “A Bathing Ape” แห่งเกาะญี่ปุ่น เริ่มต้นขึ้นโดย Nigo หรือ Tomoaki Nagao กับ Jun Takahashi เพื่อนไฮสคูล ในปี 1993 ได้เปิดตัวครั้งแรกในร้านชื่อ Nowhere ที่ฮาราจูกุ และด้วยความที่ BAPE เป็นแบรนด์ที่มีอิมเมจของความ underground ทางแบรนด์จึงค่อย ๆ ขยายธุรกิจแบบเงียบ ๆ และไม่ลงโฆษณาแบบครึกโครม แต่แล้ว BAPE ก็ถึงคราวดังแบบพลุแตกด้วยการคอลแลบกับ Pepsi ในปี 2001 และขยายต่อไปยังกลุ่มฮิปฮอปฝั่งอเมริกาผ่านทาง Pharell Williams สไตล์หลักของ Bape จะเป็นสตรีทแวร์ที่มีธีมของความกบฏของวัยรุ่น กับวัฒนธรรมที่แปลกแยกในสังคม ทำให้เราไม่สามารถแยกสตรีทแวร์ออกจากความวัยรุ่นได้ ดีไซน์จะเน้นความสนุก ทำให้นึกถึงวัยเด็ก เช่น ดีไซน์หน้าปลาฉลามบนเส้อฮู้ดดี้ก็ทำให้เรานึกถึงเครื่องบินรบ และสินค้ายอดนิยมตลอดกาลของ BAPE ก็คือฮู้ดดี้ลาย Signature Camouflage

จริง ๆ แล้ว Bape มีชื่อเต็ม ๆ ว่า “A Bathing Ape in lukewarm water” สื่อถึงสองความหมายด้วยกัน ความหมายแรกชัดเจนเลยคือสื่อถึงภาพยนตร์ดัง Planet of the Apes ที่เขาเป็นแฟนตัวยง ส่วนความหมายที่สองสื่อถือวิธีการอาบน้ำของคนญี่ปุ่นที่ต้องใช้น้ำที่มี่อุณหภูมิสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ใช้เวลาและความพิถีพิถัน ซึ่งเจ้าของแบรนด์เค้าก็ตั้งใจแซวความขี้เกียจและความกระเป๋าหนักของวัยรุ่นญี่ปุ่นที่ซื้อของเค้าไปใช้ด้วย!

Supercomma B

supercomma b

มาถึงฝั่งเกาหลีที่ขึ้นชื่อเรื่องแฟชั่นสตรีทกันบ้าง ซึ่ง Supercomma B นี้ก็ถือเป็นแบรนด์สตรีทแถวหน้าที่เหล่าไอดอลนิยมใส่กันทั้งหญิงและชาย โดยเฉพาะรองเท้าที่เป็นตัวหลักของแบรนด์ ดีไซน์เสื้อผ้าทำออกมาให้ใส่ง่าย เช่น เสื้อผ้าโอเวอร์ไซส์ และเสื้อผ้าโทนสีโมโนโทนเรียบ ๆ ที่ใส่ง่าย ดูสตรีท และสามารถนำไปแมทช์กับอะไรก็ได้ เสื้อที่มีลายก็จะเป็นดีไซน์เรียบเท่ เหมาะแก่การใส่ไปเล่นสเก็ตบอร์ดมาก ๆ ส่วนเสื้อผ้าผู้หญิงนั้นคงความเรียบเท่แบบของผู้ชาย แต่เพิ่มกิมมิค เช่น การปักเลื่อม

DC

dc

กลับมาเต็มที่กลับฝั่งอเมริกาอีกครั้งกับ DC Shoes คือแบรนด์รองเท้าสัญชาติอเมริกาที่โดดเด่นในการทำรองเท้าสำหรับกีฬาแอคชั่นอย่างสเก็ตบอร์ดและสโนว์บอร์ด ก่อตั้งขึ้นในปี 1994 โดย Damon Way และ Ken Block ที่เมือง Carlsbad รัฐแคลิฟอร์เนีย แต่ปัจจุบันย้ายมาตั้งบริษัทที่ Huntington Beach รัฐแคลิฟอร์เนียแล้ว เมื่อก่อน DC นั้นย่อมาจาก “Droors Clothing” ที่ขายเสื้อผ้า แต่เกิดเหตุให้เลิกทำไป จึงกลายมาเป็น DC Shoes, Inc. จนถึงปัจจุบัน และนอกจากรองเท้าแล้ว DC ยังมีเสื้อผ้า กระเป๋า เครื่องประดับ หมวก เสื้อ และโปสเตอร์อีกด้วย

Volcom

volcom

มาถึงแบรนด์โลโก้ลายหินอย่าง Volcom ที่มาพร้อมกับสโลแกน True to This และ แคมเปญ Let the Kids Ride Free กันบ้าง โดยแบรนด์สัญชาติอเมริกันนี้ที่ก่อขั้นในปี 1991 ตั้งโดย Richard “Wooly” Woolcott และ Tucker “T-Dawg” Hall ภายหลังจากที่ทั้งสองกลับมาจากทริปสโนว์บอร์ดด้วยกัน และเนื่องจากความชอบและประสบการณ์ของทั้งคู่ Volcom จึงออกมาเป็นแบรนด์ไลฟ์สไตล์สำหรับวัยรุ่นที่ชื่นชอบกีฬาแอคชั่นอย่างเซิร์ฟ สเก็ตบอร์ด และสโนวบอร์ดโดยเฉพาะ มีทั้งเสื้อผ้า รองเท้า เครื่องประดับ และอุปกรณ์เสริม สำหรับทั้งผู้ชายและผู้หญิง ปัจจุบัน Volcom มีสำนักงานใหญ่ในเมืองคอสตาเมซา รัฐแคลิฟอร์เนีย และดำรงตำแหน่ง CEO โดย Todd Hymel

ปัจจัยที่ควรพิจารณาเมื่อซื้อสเก็ตบอร์ด

  • สไตล์การเล่นสเก็ต

การเล่นสเก็ตบอร์ดบนทางลาดแบบดั้งเดิม (Vert Skating) การเล่นบนทางลาดที่มีขนาดเล็กกว่าแบบแรกซึ่งเป็นรูปตัว U (Half Pipe) การเล่นแบบทางลาดคล้าย Half pipe บนความสูงน้อยที่สุดคือ 8 ฟุต (Vert Ramp) และแบบที่เล่นบนถนน ราวบันได ม้านั่ง ลานกีฬา สถานที่จำลองอุปกรณ์ต่าง ๆ และอื่น ๆ (Street Skating) ซึ่งเป็นแบบที่นิยมเล่นมากที่สุดในปัจจุบัน

  • ระดับประสบการณ์

ต้องประเมินทักษะตนเองก่อนว่าอยู่ในระดับใดซึ่งแบ่งระดับคร่าว ๆ ออกเป็น นักเล่นมือใหม่พึ่งเริ่มต้น พอเล่นได้บ้าง เริ่มมีทักษะแต่เล่นได้แต่ไม่ทักทั้งหมด หรือมีความชำนาญสามารถเล่นได้ทุกสไตล์ซึ่งจะช่วยในการเลือกรูปแบบสเก็ตบอร์ดให้เหมาะกับประสบการณ์เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้เล่นมากที่สุด

  • ส่วนสูงและน้ำหนักของคุณ

เพื่อนำมาใช้ในการเลือกแผ่นบอร์ดให้รับน้ำหนักได้เหมาะสมและให้ความคล่องตัวในการเล่น โดยแผ่นบอร์ดแต่ละประเภทมักจะระบุน้ำหนักและช่วงวัย เช่น แผ่นบอร์ดสำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 2 – 7 ปีขึ้นไปมักจะรับน้ำหนักได้ไม่เกิน 25 กก. สำหรับแผ่นบอร์ดที่นิยมเล่นในวัยรุ่น หรือผู้ใหญ่มักจะรองรับน้ำหนักได้มากถึง 150 กก. ส่วนแผ่นบอร์ดไฟฟ้าบางรุ่นจะจำกัดน้ำหนักไม่เกิน 136 กก.  และแผ่นบอร์ดควรเลือกในระดับความสูงให้เหมาะสมไม่สูง หรือต่ำจนเกินไปเพราะส่งผลต่อการเคลื่อนที่ หรือลื่นไหลแบบไม่สะดุด

ข้อมูลอ้างอิงจาก

https://shopspotter.in.th

https://www.akerufeed.com

https://wereview.asia