b boy

ต้นกำเนิด B-boy

บี-บอย (อังกฤษ: B-boy) หรือ บี-เกิร์ล (อังกฤษ: B-girl) คือคนที่ชื่นชอบในวัฒนธรรมฮิปฮอป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเต้นเบรกแด๊นซ์ ที่มาของคำมาจากดีเจฮิปฮอปที่ชื่อ ดีเจ คู เฮิร์ก (อังกฤษ: DJ Kool Herc) ที่สังเกตว่ามีการตอบรับของกลุ่มนักเต้นในขณะที่เขาเปิดเพลงอยู่ โดยได้ตั้งชื่อพวกเขาว่าเป็น บีต-บอย (อังกฤษ: beat-boy) หรือ บี-บอย

ต้นกำเนิด B-boy

เบรกกิ้ง (Breaking) หรือ บี-บอยอิ่ง (b-boying) โดยทั่วไปจะเรียกกันในชื่อ Breakdance (เบรกแดนซ์) เป็นรูปแบบการเต้นที่พัฒนา ในส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมฮิปฮอป ในกลุ่มวัยรุ่นผิวสีและละตินอเมริกา ในเซาท์บรองซ์ในช่วงต้น ค.ศ. 1970 คำว่า บี-บอย มาจากคำว่า เบรกบอย (break boy) ด้วยเหตุผลที่พวกเขาจะเป็นพวกเต้นโดยเฉพาะ. โดยจะเต้นทั้งในแนวเพลงฮิปฮอป, ฟังค์ และ แนวเพลงอื่น ๆ ด้วยที่มักเป็นดนตรีรีมิกซ์ ที่คั่นระหว่างเพลงพัก

4 องค์ประกอบเบื้องต้นมาจากรากฐานในการเต้น เบรกกิ้ง (Breaking) องค์ประกอบแรกคือ ท๊อปร็อก (TopRock) คำศัพท์ที่ว่านี้จะหมายถึง เป็นการเต้นที่ มีรูปแบบเป็นลักษณะยืนเต้นซึ่งแปลตรงตัวเลยตามคำคือ Top แปลว่าด้านบน Rock คือการเขย่าหรือโยก นั่นเอง องค์ประกอบที่ 2 ดาวน์ร็อก (Downrock) แปลตรงตัวอีกเช่นกัน คือ Down แปลว่า ด้านล่าง Rock แปลว่าเขย่าหรือโยก แปลรวมกันคือ การเต้น

แบบด้านล่าง ซึ่งจะเรียกกันอีกอย่างว่า ฟุตเวิร์ก (Footwork) เป็นการเต้นลงบนพื้น องค์ประกอบที่ 3 คือ ฟรีซ (Freeze) เป็นท่าจบ โดยจะ หยุดโพสท่าต่างๆ เมื่อต้องการที่จะทำการจบการเต้น หรือ ต้องการหยุดตามจังหวะเพลง อาจจะเป็นท่าโพสท่าแบบธรรมดา หรือ เป็นท่าที่ผาดโผนก็ได้ เช่น โพสแบบกลับหัว องค์ประกอบที่ 4 คือ พาวเวอร์มูฟ (Powermove) เป็นท่าที่ใช้พลังของ ร่างกายและแรงเหวี่ยง โดยส่วนใหญ่จะเป็นการเล่นท่าที่ผาดโผนในการเคลื่อนไหว ทำท่าหมุนบนพื้นหรือบนอากาศ

คำว่า เบรกแดนซ์ซิ่ง (breakdancing) จะยังไม่เป็นที่ยอมรับในวัฒนธรรมฮิปฮอป เพราะเป็นคำที่แต่งขึ้นมาโดยสื่อมวลชนเพื่ออธิบาย การเต้นเบรกกิ้ง หรือ บี-บอย ผู้บุกเบิกรูปแบบศิลปะส่วนใหญ่และผู้ฝึกที่โด่งดัง เรียกท่าเต้นดังกล่าว ว่า บี-บอยอิ้ง (b-boying)

การแข่งขันในยุคแรก

การแข่งขันสมัยก่อนมีน้อยมากซึ่งส่วนมากจะเป็นการแข่งขันที่จัดกันตาม Hip-Hop ปาร์ตี้ในคลับ และมักจะเป็นการจัดปาร์ตี้ที่มี MC ,DJ,Graffitti และ B-boy อยู่จริงๆซึ่งทุกคนจะได้คุยกันแชร์ความคิด กันซึ่งเป็นการอยู่ร่วม 4 Elements กันจริงซึ่งเดี๋ยวนี้ค่อนข้างหายากแล้ว และการแข่งขันบางครั้งก็มักจะ จัดกันเองโดยมีเงินรางวัลไม่มากนักเช่น การแข่งขันที่สะพานพุทธ เป็นต้น 

ต่อมามีการพัฒนาซึ่งส่งเสริมจาก Sponsor ที่เป็นผู้จัดจริงๆ ซึ่งได้แก่ งาน Seacon square หลายๆครั้ง ทั้งแบบ 3 vs 3 และแบบเดี่ยว ซึ่งจะมีการจัดการแข่งขันกันอยู่เป็นประจำ หรือแม้แต่ตามงานแข่ง Graffiti หรือจักรยาน Flat land ก็มักจะมีการแข่งขัน B-boy ควบคู่ อยู่ เช่นกัน

การแข่งขันระดับประเทศ

การแข่งขันระดับประเทศได้เกิดขึ้นในประเทศไทยครั้งแรกคืองาน”Chiclet Seacon 3 on 3 B-boy Battle” ซึ่งเฟ้นหาเป็นตัวแทนประเทศไทยเพื่อไปแข่งขันและไปหาประสบการณ์ต่อที่กรุงโซล ประเทศเกาหลี ผู้ชนะ คือ ทีม Pised crew (พิเศษ crew Cheno,Oman,Mmon)  ต่อมาได้มีการแข่งขัน ที่ใหญ่ขึ้นเรียกว่าการแข่งขัน Battle of the year Thailand  โดยมี พี่กิ๊ก ปรวรรษธ กฤษณมะระ เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ BATTLE OF THE YEAR THAILAND & SOUTHEAST ASIA นับตั้งแต่ปี 2004 เรื่อยมา แต่เมื่อปี 2008 พี่กิ๊กได้จากเราไปด้วยอาการป่วยเป็นโรคมะเร็ง ในวันที่ 1 สิงหาคม  พี่กิ๊กได้สร้างงานนี้ขึ้นมาให้กับเด็กๆ B-boy รุ่นหลังเพื่อจะได้เป็นแรงผลักดันเยาวชน B-boy ,B-girl ต่อไป มาจนถึงทุกวันนี้

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://board.postjung.com

https://www.dansealille.com

https://th.wikipedia.org