Select Page

วิธีเล่นสเก็ตบอร์ด (สำหรับมือใหม่)

by Dec 28, 2022ความรู้ฮิฮอป

วิธีเล่นสเก็ตบอร์ด

วิธีเล่นสเก็ตบอร์ดสำหรับมือใหม่

ในการเล่นสเก็ตบอร์ดสำหรับมือใหม่คือ การงอเข่า เพราะท่าทางที่ย่อเล็กน้อยและผ่อนคลาย จะช่วยให้ปรับสมดุลของร่างกายได้ทันทีในทุกสถานการณ์ และเตรียมพร้อมในการล้มเสมอ เพราะการหกล้มเป็นส่วนหนึ่งของการเล่นสเก็ตบอร์ดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรมีหมวกกันน็อคและอุปกรณ์ป้องกันเพื่อความปลอดภัย

ส่วนประกอบของสเก็ตบอร์ด

Deck (แผ่น)

deck

ส่วนสำคัญของสเก็ตบอร์ดที่สำคัญที่สุด ก็คงจะไม่พ้นแผ่นสเก็ตบอร์ดแน่นอน เพราะถ้าไม่มีแผ่นแล้วจะเล่นยังไงล่ะ จริงไหม โดยแผ่นสเก็ตบอร์ดก็จะเป็นส่วนที่เราขึ้นไปเหยียบ ยืน และทรงตัวอยู่บนนั้น โดยแผ่นสเก็ตบอร์ดนั้นจะมีความสั้นยาวที่แตกต่างกันไปตามแต่ประเภทของบอร์ด และยังรวมไปถึงวัสดุของตัวแผ่นด้วย ที่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นแผ่นไม้ แต่ก็อาจจะมีวัสดุแผ่นสเก็ตบอร์ดเป็นพลาสติกหรือไฟเบอร์ก็ได้ ตามแต่ประเภทของตัวบอร์ดที่แตกต่างกันไป

Grip Tape (กระดาษทราย)

griptape

Grip Tape คือส่วนสำคัญที่จะทำให้การเล่นสเก็ตบอร์ดมีความสนุกและท้าทายขึ้น เพราะ Grip Tape จะเป็นแผ่นกระดาษทรายที่แปะอยู่บน Deck ที่จะช่วยลดความลื่นและเพิ่มการยึดเกาะของเท้าบนแผ่นได้ดีมากขึ้น ทำให้เราสามารถเล่นท่าทางต่าง ๆ ได้มากขึ้น และช่วยให้การเล่นสเก็ตบอร์ดมีความปลอดภัยขึ้นได้อีกด้วย ซึ่งเราอาจจะติดแผ่น Grip Tape หรือไม่ก็ได้ ตามแต่ประเภทการใช้งาน ถ้าเราเล่นแค่ไถไปข้างหน้าตามถนนหรือฟุตบาทก็ไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ แต่ถ้าเราเล่นแบบผาดโผน เล่นท่า การมี Grip Tape ไว้หน่อยก็ดีเหมือนกัน

Truck (ทรัค)

truck

TRUCK คือตัวช่วยยึดล้อสเก็ตกับตัว Deck ส่วนใหญ่จะผลิตจากอะลูมิเนียม ซึ่งจะมีความแข็งแรง และคงทนมาก ซึ่ง Truck ของสเก็ตบอร์ดนี้จะเป็นส่วนที่รับน้ำหนักและรองรับแรงกระแทกจากการเล่นทั้งหมด

Wheel (ล้อ)

wheel

ล้อคือส่วนที่ต้องสัมผัสกับพื้นโดยตรง โดยส่วนใหญ่แล้วล้อจะผลิตมาจากโพลียูรีเทน ที่สามารถรับแรงกดได้ดี และมีความทนทาน เกาะพื้นผิวได้เป็นอย่างดี ทำให้เราควบคุมบอร์ดได้ง่ายขึ้น

Bearing (ลูกปืน)

bearing

ลูกปืนเป็นส่วนสำคัญที่สุดเลยที่จะบอกได้ว่าสเก็ตบอร์ดตัวนั้นจะลื่นไหลแค่ไหน ซึ่งในส่วนนี้สามารถดูได้จากมาตรฐาน ABEC ยิ่งตัวเลขต่อท้ายสูง ก็จะยิ่งลื่น แต่ถ้าหากว่าเราเพิ่งเริ่มเล่นก็อย่าเพิ่งเลือกตัวเลขที่สูงมากนัก เพราะว่าถ้ายิ่งลื่นมาก ก็จะยิ่งควบคุมยากนั่นเอง

เราควรเล่นสเก็ตบอร์ดกับพื้นแบบไหน

การเล่นสเก็ตบอร์ด เราควรเล่นบนพื้นที่มีความเรียบเป็นหลัก เพื่อให้ตัวสเก็ตบอร์ดมีความลื่นไหล และเล่นได้สนุกมากขึ้น และสิ่งที่เราควรหลีกเลี่ยงเป็นอย่างยิ่งเลยก็คือพื้นที่มีความหยาบ หรือขรุขระ เพราะนอกจากจะทำให้การควบคุมบอร์ดเป็นไปได้ยากขึ้นแล้ว ยังทำให้ล้อสึกและเลียหายได้ง่ายขึ้นด้วย โดยพื้นที่เราแนะนำสำหรับการเล่นสเก็ตบอร์ด จะมีดังนี้

  • พื้นปูนแบบหยาบ

การเล่นสเก็ตบอร์ดบนพื้นปูนหยาบนั้นสามารถพบเห็นได้โดยทั่วไป ไม่ว่าจะตามลานกีฬา สวนสาธารณะ หรือพื้นที่เปิดฟรี เป็นพื้นในแบบที่หลายคนจะได้เล่นกัน แต่ก็มีข้อเสียอยู่นะคือเรื่องพื้นที่ไม่ค่อยจะเรียบเอาเท่าไหร่ จึงอาจทำให้ล้อสเก็ตสึกหรอหรือเสียหายได้ และอาจจะทรงตัวได้ยากนิดนึงเพราะพื้นไม่ได้เรียบ และด้วยความที่เป็นพื้นขรุขระ บอกได้เลยว่าถ้าล้มคือเจ็บและได้เลือดแน่นอน ฉะนั้น ใครอยากเล่นบนพื้นปูนแบบหยาบแต่ยังไม่ชำนาญ ก็ต้องดูแลตัวเองด้วยการจัดหาเซฟตี้มาใส่ ทั้งหมวกกันน็อค สนับเข่า ศอก รวมไปถึงถุงมือออกกำลังกายด้วย เพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากการล้มนั่นเอง

  • พื้นปูนขัดมัน

    พื้นปูนขัดมันเป็นพื้นที่มีความเรียบและลื่น สามารถเล่นสเก็ตบอร์ดได้อย่างลื่นไหลมาก แต่ตัวพื้นก็ไม่ได้รับแรงกระแทกได้ดีเท่าไหร่ จึงอาจทำให้ตัวบอร์ดเสียหายได้จากการเล่นท่าทางต่าง ๆ การเล่นบนพื้นปูนขัดมันจึงอาจจำเป็นต้องมีทรัคที่แข็งแรง เพื่อการรับน้ำหนักและการกระจายแรงกระแทกได้ดีมากขึ้น

  • พื้นไม้ลามิเนต

    พื้นไม้ลามิเนตก็เป็นอีกหนึ่งวัสดุพื้นที่เราแนะนำ และเป็นพื้นที่ลานสเก็ตบอร์ดในห้างหลาย ๆ แห่งนิยมใช้กันด้วย เนื่องจากว่าเป็นพื้นที่มีความเรียบ และสามารถรับและกระจายแรงได้ดีในระดับหนึ่งเลย แต่การปูพื้นลามิเนตก็จำเป็นต้องมีความชำนาญเช่นกัน เพราะพื้นที่จะใช้ปูแผ่นลามิเนตนั้นจำเป็นต้องมีความเรียบ เพื่อให้แผ่นลามิเนตมีความเรียบเสมอกัน

วิธีเล่นสเก็ตบอร์ด

เรียนรู้การบังคับบอร์ด

เรียนรู้การบังคับบอร์ด
  1. ลองยืนบนบอร์ดโดยไม่ร่วงตกลงมา. การยืนทรงตัวบนบอร์ดไม่มีวิธีที่กำหนดไว้ตายตัว ดังนั้นให้คุณวางสเก็ตบอร์ดลงบนพื้นที่มั่นคงแข็งแรงและไม่ลื่นจนเกินไปอย่างพื้นหญ้าหรือพื้นพรม จากนั้นลองขึ้นไปยืนบนบอร์ดโดยวางเท้าไว้ตรงบริเวณน็อตที่ยึดทรัคโดยให้เท้าข้างหนึ่งอยู่ด้านหน้าเท้าอีกข้างหนึ่งและสังเกตดูว่าท่ายืนแบบใดที่ช่วยให้คุณสามารถทรงตัวได้ดีที่สุด
  • Regular foot คือการวางเท้าโดยให้เท้าซ้ายนำหน้าเท้าขวา ซึ่งหมายความว่าคุณจะใช้เท้าขวาในการถีบส่งตัวในขณะที่เท้าข้างซ้ายควบคุมบอร์ดไว้

  • Goofy foot คือการวางเท้าโดยให้เท้าขวานำหน้าและใช้เท้าซ้ายในการถีบส่งตัว แม้ชื่อเรียกจะบ่งบอกว่าเป็นการวางเท้าที่ดูน่าขัน แต่การวางเท้าในรูปแบบ Goofy foot นั้นสามารถพบได้โดยทั่วไปเช่นเดียวกับรูปแบบ Regular foot และไม่มีความ “ผิดแปลก” แต่อย่างใด

 

  • Mongo foot คือการวางเท้าโดยใช้เท้าข้างเดียวกับที่วางอยู่ด้านหน้าในการถีบส่งตัว ซึ่งการวางเท้าในลักษณะนี้อาจดูผิดแปลกไปสักเล็กน้อย สำหรับบางคนอาจถนัดกับการวางเท้าในรูปแบบ Mongo foot ในช่วงแรก อย่างไรก็ตาม พยายามหลีกเลี่ยงการวางเท้าในลักษณะนี้จนเกิดความเคยชิน เนื่องจากการเคลื่อนไหวโดยผิดธรรมชาติด้วยการยกเท้าขึ้นมาวางไว้ด้านหน้าของบอร์ดอาจจำกัดให้คุณไม่สามารถฝึกเทคนิคต่างๆ ได้ดีเท่าที่ควร ทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงที่บอร์ดจะเกิดการลื่นไถลออกไปจากคุณได้อีกด้วย
  1. ฝึกถีบส่งตัว. มองหาบริเวณที่เป็นพื้นคอนกรีตราบสำหรับการฝึกเล่นสเก็ตบอร์ดของคุณ เริ่มจากขึ้นไปยืนบนบอร์ดด้วยเท้าหน้าและใช้เท้าหลังก้าวไปข้างหน้ายาวๆ อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้สเก็ตบอร์ดเกิดการเคลื่อนที่
  • ผู้ที่เพิ่งหัดเล่นสเก็ตบอร์ดโดยส่วนใหญ่มักผลักเท้าทีละนิดหลายๆ ครั้งแทนการผลักเท้าเป็นช่วงยาวๆ ในช่วงเริ่มต้น ซึ่งที่ถูกต้องคือคุณจะต้องถีบส่งตัวโดยใช้เท้าไถให้เป็นช่วงยาวพอเพื่อให้คุณสามารถควบคุมสเก็ตบอร์ดได้อย่างลื่นไหลและทรงตัวบนบอร์ดได้มั่นคงยิ่งขึ้น
  1. เตรียมขึ้นบอร์ด. เมื่อสเก็ตบอร์ดเริ่มเคลื่อนที่ไปทางด้านหน้า ให้คุณยกเท้าที่ใช้ถีบส่งตัวขึ้นมาวางไว้เบาๆ ตรงปลายบอร์ดด้านหลังพร้อมบิดเท้าที่ใช้ควบคุมบอร์ดไปด้านข้างในลักษณะเดียวกับตอนที่คุณฝึกยืนบนบอร์ดบนพื้นหญ้า พยายามยืนให้หลังเหยียดตรงโดยงอเข่าทั้งสองข้างเล็กน้อยเพื่อการทรงตัวบนบอร์ดที่มั่นคง
  • เมื่ออยู่ในท่ายืนที่ถูกต้อง เท้าหน้าของคุณจะอยู่บนน็อตที่ยึดทรัคหน้าพอดีหรือค่อนไปด้านหลังเล็กน้อยในขณะที่เท้าหลังจะอยู่ใกล้กับหรือบนปลายบอร์ดด้านหลังพอดี การยืนในลักษณะนี้เป็นท่าที่มั่นคงและปลอดภัยมากที่สุด อีกทั้งการวางเท้าหลังเตรียมไว้ตรงบริเวณปลายบอร์ดด้านหลังยังช่วยให้คุณสามารถเลี้ยวอย่างรวดเร็วด้วยเทคนิค Kickturn ได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

 

  • การขึ้นบอร์ดเป็นทักษะที่ฝึกฝนได้ยากที่สุดในช่วงแรกของการฝึกเล่นสเก็ตบอร์ด แต่อย่าเพิ่งกังวลไป เมื่อคุณฝึกขึ้นบอร์ดจนชำนาญแล้ว การควบคุมสเก็ตบอร์ดให้สำเร็จได้ก็จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

4. เรียนรู้การเลี้ยวบอร์ด. เมื่อต้องการเลี้ยวบอร์ดไปในทิศทางที่ต้องการ ให้คุณใช้ข้อเท้าทิ้งน้ำหนักไปทางด้านหน้าหรือด้านหลังเพื่อบังคับบอร์ดให้ไปทางซ้ายหรือทางขวาตามลักษณะการยืนของคุณ โดยน้ำหนักของแรงกดที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับความแข็งของทรัคและรัศมีวงเลี้ยวที่คุณต้องการ มองหาบริเวณที่เป็นพื้นราบและลองฝึกขึ้นบอร์ดให้คล่องในช่วงแรกก่อนเพิ่มการฝึกเลี้ยวไปมาจนสามารถทำได้โดยไม่ร่วงตกลงมา การเลี้ยวในลักษณะนี้มีชื่อเรียกว่า Carving และสามารถพบได้บ่อยที่สุด

  • การเลี้ยวด้วยเทคนิค Carving ไม่สามารถช่วยให้คุณหักหลบสิ่งกีดขวางอย่างรวดเร็วหรือเลี้ยวกลับตัวได้ ดังนั้นการเลี้ยวด้วยเทคนิค Kickturn จึงเป็นอีกหนึ่งทักษะที่น่าฝึกฝนเป็นอย่างยิ่ง การเลี้ยวด้วยเทคนิค Kickturn สามารถทำได้โดยใช้เท้าหลังออกแรงกดเล็กน้อยลงไปที่ปลายบอร์ดด้านหลัง (เพื่อให้ล้อหน้ายกขึ้นมาจากพื้นเล็กน้อย) พร้อมหมุนลำตัวไปในทิศทางที่คุณต้องการเลี้ยวในเวลาเดียวกัน ระวังอย่าออกแรงกดลงไปที่ปลายบอร์ดด้านหลังมากจนเกินไป ไม่เช่นนั้นบอร์ดอาจลื่นไถลออกไปจากคุณได้ รวมทั้งพยายามหลีกเลี่ยงการเลี้ยวด้วยเทคนิค Kickturn ในระหว่างลงทางลาดด้วยความเร็วสูง

5. ลองหยุดบอร์ด. การหยุดบอร์ดสามารถทำได้หลายวิธี ซึ่งโดยส่วนใหญ่เป็นเทคนิคขั้นสูงที่ต้องอาศัยประสบการณ์และความชำนาญในการเล่นสเก็ตบอร์ด สำหรับผู้ที่เพิ่งหัดเล่นสเก็ตบอร์ด วิธีการหยุดบอร์ดที่สามารถทำได้ง่ายที่สุดคือการชะลอความเร็วลงช้าๆ และใช้เท้าข้างหนึ่งวางลงบนพื้นเพื่อหยุดบอร์ด หรือจะใช้วิธีหยุดบอร์ดจากปลายบอร์ดด้านหลังก็ได้เช่นกัน

  • หากต้องการหยุดบอร์ดจากปลายบอร์ดด้านหลัง ให้คุณทิ้งน้ำหนักตัวไปยังเท้าหลังที่วางอยู่บนปลายบอร์ดด้านหลังและกดลงไปให้ปลายบอร์ดด้านหลังไถไปกับพื้นจนหยุดสนิท หลายคนอาจไม่ชอบการหยุดบอร์ดด้วยวิธีนี้เท่าไรนักเพราะอาจทำให้บริเวณปลายบอร์ดด้านหลังสึกเร็วยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม สเก็ตบอร์ดตามท้องตลาดมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งรุ่นที่มีแผ่นกระดานเรียบ มักมีแผ่นพลาสติกติดอยู่ที่ด้านใต้ของปลายบอร์ดสำหรับใช้ในการหยุดบอร์ด จึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่เพิ่งหัดเล่นสเก็ตบอร์ด
  1. ลืมเทคนิคขั้นสูงไปก่อน. ความผิดพลาดหนึ่งที่ส่งผลให้มือใหม่ไม่สามารถฝึกเล่นสเก็ตบอร์ดได้ดีเท่าที่ควรคือต้องการข้ามไปฝึกท่า Ollie ทันทีโดยละเลยการฝึกท่าพื้นฐานไป ดังนั้นอย่าเพิ่งรีบร้อนนัก เพียงฝึกฝนไปเรื่อยๆ สักวันหนึ่งคุณก็จะสามารถทำท่า Ollie ได้อย่างแน่นอน การฝึกเล่นสเก็ตบอร์ดก็เหมือนกับการหัดเล่นกีตาร์ที่คุณต้องเรียนรู้การจับคอร์ดพื้นฐานให้คล่องก่อนเริ่มต้นฝึกโซโลกีตาร์ อันดับแรกคุณจะต้องเรียนรู้วิธีการขึ้นบอร์ดและไถไปมาได้อย่างคล่องแคล่วเสียก่อน เพราะเมื่อไรก็ตามที่คุณสามารถทรงตัวบนบอร์ดได้อย่างมั่นคงแล้ว การฝึกกระโดดก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินไปสำหรับคุณ

หมั่นฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง

ฝึกเล่นสเก็ตบอร์ด
  1. อย่ากลัวที่จะล้ม. ไม่มีนักสเก็ตบอร์ดคนใดที่ไม่เคยร่วงตกลงมาจากบอร์ดมาก่อน แม้คุณอาจรู้สึกท้อแท้ใจไปบ้าง แต่การพลาดล้มเสียบ้างจะช่วยให้คุณเรียนรู้วิธีการล้มด้วยท่าทางเหมาะสมเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการบาดเจ็บอย่างรุนแรงได้ สิ่งสำคัญคือการป้องกันศีรษะไว้โดยสวมหมวกกันน็อกทุกครั้ง รวมทั้งสวมสนับข้อมือไว้เพื่อกันแรงกระแทกและป้องกันการเกิดรอยถลอกจากการล้มซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ตามปกติในโลกของกีฬาสเก็ตบอร์ด
  • สาเหตุหลักๆ ที่มักทำให้คุณเกิดพลาดล้มในระหว่างการเล่นสเก็ตบอร์ดคือการวิ่งทับบนก้อนกรวดเล็กๆ จนเข้าไปติดในล้อหรือสะดุดกับร่องหลุมจนทำให้เสียการทรงตัวอย่างกะทันหัน ดังนั้นคอยสังเกตดูสภาพทางในระหว่างที่ไถสเก็ตบอร์ดไปตามทาง แต่ในขณะเดียวกันก็พยายามให้สายตามองตรงไปข้างหน้าเพื่อรักษาการทรงตัวให้มั่นคงมากที่สุด

2. ฝึกเล่นสเก็ตบอร์ดร่วมกับนักสเก็ตบอร์ดคนอื่นๆ. เช่นเดียวกับการเล่นดนตรีหรือกีฬาประเภทอื่นๆ การเล่นสเก็ตบอร์ดก็จะเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นเมื่อมีคนเก่งๆ คอยสอนให้กับคุณ ดังนั้นคุณจึงควรหมั่นฝึกซ้อมร่วมกับนักสเก็ตบอร์ดที่มีประสบการณ์สูงเพื่อเรียนรู้และฝึกฝนการเล่นสเก็ตบอร์ดพร้อมทั้งเก็บเกี่ยวเคล็ดลับและเทคนิคต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ เพียงกล้าที่จะขอคำแนะนำและจงซื่อสัตย์กับระดับความสามารถของตัวเอง

  • อย่าเพิ่งลองท่ายากๆ หากความชำนาญของคุณยังไม่มากพอ หากคุณฝึกเล่นสเก็ตบอร์ดร่วมกับกลุ่มผู้เล่นสเก็ตบอร์ดที่สามารถทำท่า Ollie ลงขั้นบันไดได้คล่องและเกิดอยากลองทำตามทั้งที่คุณเพิ่งจะเริ่มต้นฝึกหยุดบอร์ดโดยไม่ให้ร่วงตกลงมา คุณอาจลงท้ายด้วยการได้รับบาดเจ็บแทนได้ อย่าเพิ่งรีบร้อนและฝึกฝนอย่างค่อยเป็นค่อยไป แล้วสักวันหนึ่งคุณจะสามารถทำได้อย่างแน่นอน
  1. ดูคลิปวิดีโอตัวอย่างการเล่นสเก็ตบอร์ดเยอะๆ. คลิปวิดีโอตัวอย่างการเล่นสเก็ตบอร์ดถือเป็นหัวใจสำคัญของวัฒนธรรมการเล่นสเก็ตบอร์ด ซึ่งในปัจจุบันคลิปวิดีโอสอนเล่นสเก็ตบอร์ดมีอยู่มากมายบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งคุณสามารถค้นหาได้ตั้งแต่การแสดงลีลาท่าทางจากนักสเก็ตบอร์ดมืออาชีพไปจนถึงเคล็ดลับและคำแนะนำที่เป็นประโยชน์สำหรับมือใหม่ การดูคลิปวิดีโอเหล่านี้จึงเป็นสื่อชั้นดีที่ช่วยให้คุณสามารถเรียนรู้เทคนิคขั้นสูงต่างๆ สำหรับการฝึกเล่นสเก็ตบอร์ดของคุณ
  1. ลองเคลื่อนบอร์ดลงมาจากทางลาด. การเรียนรู้การปล่อยให้แรงโน้มถ่วงเป็นตัวขับเคลื่อนบอร์ดเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาตนเองไปสู่นักสเก็ตบอร์ดที่เก่งยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามคุณไม่จำเป็นต้องเร่งเร้าตัวเองให้ทำได้โดยเร็ว ในช่วงแรกคุณอาจยังคงรู้สึกกลัวกับการเคลื่อนบอร์ดลงมาจากทางลาดอยู่บ้าง ดังนั้นลองเริ่มต้นด้วยการทำความคุ้นเคยกับการเคลื่อนบอร์ดด้วยแรงโน้มถ่วงและฝึกฝนการควบคุมบอร์ดลงมาจากทางลาดให้ดี
  • เพื่อรักษาการทรงตัวในระหว่างเคลื่อนบอร์ดลงมาจากทางลาด ให้คุณย่อเข่าลงและใช้แขนทั้งสองข้างในการสร้างความมั่นคงของลำตัวเพื่อป้องกันไม่ให้เอนไปมา รวมทั้งพยายามให้ข้อเท้าอยู่นิ่งมากที่สุด เพราะในระหว่างที่สเก็ตบอร์ดเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง แม้การขยับเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อยก็สามารถทำให้ลำตัวเกิดการเสียศูนย์จนคุณอาจเสียสมดุลของการทรงตัวได้
  1. ลองฝึกท่าต่างๆ เมื่อมีความพร้อม. หลังจากที่คุณเริ่มคุ้นเคยกับการบังคับบอร์ดและสามารถทรงตัวบนบอร์ดได้โดยไม่ร่วงตกลงมาแล้ว คุณอาจมีความพร้อมมากพอต่อการเรียนรู้ท่าใหม่ๆ สักหนึ่งถึงสองท่า เห็นหรือไม่ว่าความพยายามที่ผ่านมาของคุณเริ่มสัมฤทธิ์ผลแล้ว! ตัวอย่างของท่าพื้นฐานง่ายๆ ที่เหมาะสำหรับผู้ที่เพิ่งหัดเล่นสเก็ตบอร์ดได้แก่
  • ท่า Ollie 
  • ท่า Grind 
  • ท่า Shove-it (ไม่ใช่ท่า Pop shove-it ที่ต้องลอยค้างกลางอากาศเล็กน้อย) 
  • ท่า Kickflip

6. ฝึกฝนไปเรื่อยๆ. จงมุ่งมั่นและทุ่มเทในการฝึกซ้อม! การเล่นสเก็ตบอร์ดให้เก่งขึ้นนั้นจำเป็นต้องใช้เวลาและความพยายามเป็นอย่างมากและไม่ใช่สิ่งที่จะสามารถทำได้ในชั่วข้ามคืน ดังนั้นคุณจะต้องค่อยๆ เรียนรู้ไปทีละนิดและหมั่นฝึกฝนอย่างต่อเนื่องเพื่อก็เกิดความชำนาญและคุ้นเคยกับการบังคับบอร์ดมากยิ่งขึ้น จำไว้ว่าอย่ารู้สึกท้อแท้และหมดกำลังใจไปโดยเด็ดขาด

การเล่นสเก็ตบอร์ดสำหรับมือใหม่

กีฬาสเก็ตบอร์ดเป็นกีฬาที่มีความสนุกและท้าทายมาก เรียกได้ว่าเป็นกีฬาที่ทำลาย Safe Zone ของใครได้หลาย ๆ คนเลย แต่ว่าสเก็ตบอร์ดก็ยังเป็นกีฬาที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บและการเกิดอุบัติเหตุได้มาก ดังนั้น นอกจากทักษะการเล่นที่ควรต้องฝึกฝนให้ชำนาญแล้ว เรื่องของพื้นที่ใช้ในการเล่นก็มีความสำคัญเช่นกัน

บทความน่าสนใจ

Rhyme เสียงสัมผัสที่กลายเป็นเพลง

Rhyme เสียงสัมผัสที่กลายเป็นเพลง

Rhyme เสียงสัมผัสที่กลายเป็นเพลงRhyme ไรม เป็นคำนาม หมายถึง เสียงสัมผัสในบทกวี คำที่มีเสียงคล้องจอง หรือบทกวีที่มีเสียงคล้องจอง เสน่ห์อย่างหนึ่งของภาษาไทยคือการพูดอะไรให้ฟังดูคล้องจองกันไปหมด ไม่ว่าจะเป็นกลอนในวรรณคดี การบ่นเรื่องต่างๆ ลงสเตตัสเฟซบุ๊ก...

วงฮิปฮอปในตำนาน N.W.A คือใครกัน

วงฮิปฮอปในตำนาน N.W.A คือใครกัน

วงฮิปฮอปในตำนาน N.W.A คือใครกันผลงานดนตรีพวกเค้าเปิดตัวด้วยอัลบั้ม Straight Outta Compton เนื้อหาเพลงในอัลบั้มนี้เต็มไปด้วยความรุนแรง ถ้อยคำอันหยาบคาย การเสียดสีด่าทอเรื่องรอบตัวของพวกเค้า สภาพสังคม การค้ายา เพื่อน ผู้หญิง เซ็กส์...

Lo-Fi Hip Hop ฮิปฮอปสไต์สายชิลเป็นยังไง

Lo-Fi Hip Hop ฮิปฮอปสไต์สายชิลเป็นยังไง

Lo-Fi Hip Hop ฮิปฮอปสไต์สายชิลเป็นยังไงถ้าคุณกำลังทำงานอยู่ในออฟฟิศที่วุ่นวาย หรืออยากจะโฟกัสกับหนังสือตรงหน้าให้ได้ก่อนที่จะสอบในอีกไม่กี่วัน เราก็มักจะเลือกฟังเพลงที่แล้วผ่อนคลายมากกว่า หลายคนอาจเลือกเสียงจากธรรมชาติทั้งเสียงฝน...

คำแสลงฮิปฮอปที่คุณไม่ควรพลาด

คำแสลงฮิปฮอปที่คุณไม่ควรพลาด

คำแสลงฮิปฮอปที่คุณไม่ควรพลาดสมัยนี้ดนตรีสายฮิพฮ็อป ถือว่ามาแรงเอามากๆ ในวงการเพลง เปิดกันทั่วประเทศ แถมยังมีสไตล์แนวการแต่งกายโดนใจวัยรุ่นยุคนี้เอามากๆ สำหรับแร๊ปเปอร์หน้าใหม่ หรือใครที่สนใจใน Hip-Hop มันก็ต้องมีบ้างล่ะที่ฟังศัพท์ภาษาอังกฤษแล้วมันติดที่ปาก...

สายฮิปฮอปไม่ควรพลาดไอเทมชิ้นนี้

สายฮิปฮอปไม่ควรพลาดไอเทมชิ้นนี้

สายฮิปฮอปไม่ควรพลาดไอเทมชิ้นนี้แฟชั่นฮิปฮอปมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วตั้งแต่การเริ่มต้นขึ้นในย่าน Bronx ที่นิวยอร์กช่วงกลางปี 1970s สไตล์ก็จะอยู่ในขอบเขตของแต่ละเมือง แต่ละฝั่ง และแต่ละซีน แตกต่างกันไป เทรนด์ฮิปฮอปที่โดดเด่นที่ยังไม่หายไป...

หมดปัญหานึกคำแร็ปไม่ออกง่ายๆด้วยวิธีนี้

หมดปัญหานึกคำแร็ปไม่ออกง่ายๆด้วยวิธีนี้

หมดปัญหานึกคำแร็ปไม่ออกง่ายๆด้วยวิธีนี้เว็บไซต์นี้ทำหน้าที่ค้นหาคำไทยเพื่อมาใช้เป็นคำในการแต่งไรห์มต่างๆ โดยผู้จัดทำได้ระบุไว้ว่า “ฐานข้อมูลคำศัพท์และคำแปลถูกพัฒนามาจากพจนานุกรมเล็กซิตรอน (LEXiTRON) ซึ่งพัฒนาโดย...

แชมป์ เดอะแร็ปเปอร์ คนแรกคือใครกัน

แชมป์ เดอะแร็ปเปอร์ คนแรกคือใครกัน

แชมป์ เดอะ แร็ปเปอร์ คนแรกคือใครกันIRONBOY (ไอรอนบอย) หรือ นาย ศิริศักดิ์ เลขวัฒนะโรจน์ (เอนัน) สมาชิกในทีมของโค้ช โต้ง Twopee Southside คว้าเงินรางวัล 1 ล้านบาท และได้เป็นแชมป์ The Rapper คนแรกของเมืองไทยไปครองประวัติ IRONBOYเอนัน ศิริศักดิ์ เลขวัฒนะโรจน์...

6 แร็ปเปอร์ดังในไทย

6 แร็ปเปอร์ดังในไทย

6 แร็ปเปอร์ดังในไทยแน่นอนว่าในยุคนี้เพลงที่มีเนื้อหาแรง ๆ และมาพร้อมกับประเด็นเหยียด ย่อมเป็นที่จับตามองของเหล่าผู้ฟังอยู่แล้ว แต่ถ้าเราลองถอยออกมาและมองโลกให้กว้างอีกนิด เราจะเห็นได้ว่าไม่ใช่มีเพียงแค่รุ่นพ่อเท่านั้นที่ทั้งเก๋าและเจ๋ง...

ประวัติ MC KING

ประวัติ MC KING

ประวัติ MC KING‘MC KING’ (เอ็มซี คิง) มีชื่อจริงว่า อนุวัฒน์ คำยา ซึ่งชื่อที่คนสนิทเรียกกันทั่วไปคือชื่อเล่น “เกียร์” เริ่มฝึกฝนการแร็ปด้วยตัวเองมาตั้งแต่ตอนที่อายุได้เพียง 15 – 16 ปี โดยมีความชื่นชอบศิลปินตะวันตกหลายคน อาทิ Jay-z, Nas และ 2pacประวัติและผลงาน MC...