ประเภทของ Graffiti

ประเภทของ Graffiti

Graffiti เป็นงานศิลปะประเภทหนึ่ง ซึ่งพบเห็นได้ตามถนนหนทางสาธารณะทั่วไป ไม่ต้องเสียเงินเข้าชมในสถานที่อันปิดมิดชิด จึงทำให้ผู้คนทั่วไปสามารถเสพย์ผลงานเหล่านี้ได้โดยทั่วถึงกัน ตามปกติแล้วงานศิลปะประเภทนี้มักขัดกับหลักกฎหมายบ้านเมือง เนื่องจากมักจัดแสดงบนพื้นที่ไม่ได้รับอนุญาตอันเป็นของสาธารณะ และคนส่วนใหญ่มักรู้จักงานศิลปะประเภทนี้ว่าเป็น Street Art สำหรับงานศิลป์ประเภทนี้ยังรวมถึงงานประติมากรรม , พ่นผนังด้วยสีสเปรย์ โดยมีบล็อก , การแปะสติ๊กเกอร์ รวมทั้งงานจัดวาง เป็นต้น

ประเภทของ Graffiti แบ่งออกเป็นทั้งหมด 8 ประเภท ได้แก่

1. “Tag” คือการเซ็นลายเซ็นหรือนามแฝงของแต่ละคนโดยสเปรย์กระป๋อง หรือ ปากกา ส่วนมากใช้สีเดียว บางคนอาจพ่นเป็นตัวอักษรธรรมดา ขณะที่บางคนดีไซน์ให้เป็นตัวอักษรที่เกาะเกี่ยวกันจนอ่านไม่ออก เน้นให้ดูแปลกและสะดุดตา

2. “Throw-ups” คือการเขียนเร็ว ๆ ด้วยสีพื้นฐาน จำนวนน้อยสีนิยมใช้สีขาวดำ แสดงให้เห็นเส้นสายที่รวดเร็ว เป็นการเขียนตัวอักษรน้อยตัว มีเส้นตัดขอบเพื่อให้ดูมีมิติ ไม่เน้นความสวยงาม เพราะต้องทำแข่งกับเวลา

3. “Fill-in” หรือ “Piece” คือ “Throw-ups” ที่ซับซ้อนขึ้น เป็นผลงานของไรเตอร์คนเดียว เป็นการพ่นสีสเปรย์ให้เป็นภาพหรือตัวอักษรที่สวยงาม ใช้เวลานานในการสร้างสรรค์ เพื่อให้ผลงานออกมาสมบูรณ์

4. “Block” หรือ “Bubble” การเขียน Tag ที่ดูมีมิติมากขึ้น ใช้สีประมาณ 3 สี หรือมากกว่านั้น

5. “Wildstyle” หรือ “Wickedstyle” เป็นสไตล์ที่ซับซ้อนขึ้น มีการเกาะเกี่ยวกันของตัวหนังสือ ลักษณะการเขียนประเภทนี้จะอ่านค่อนข้างยาก เพื่อแสดงความเหนือชั้นของการดีไซน์

6. “Blockbuster” คือ “Fill-in” ที่ตั้งใจเขียนทั้งผนัง

7. “Character” คือการพ่นเป็นรูปคน หรือ คาแร็กเตอร์ต่าง ๆ ไม่วาจะเป็นตัวการ์ตูน หรือเป็นภาพเสมือนจริงของดารา-นักร้องในดวงใจ หรืออาจเป็นตัวการ์ตูนที่ไรเตอร์ออกแบบเองเพื่อเป็นสัญลักษณ์ประจำตัวของไรเตอร์คนนั้น ๆ

8. “Production” คือ การรวมรอยขูดขีดเขียนทุกรูปแบบไว้ด้วยกัน เกิดจากการรวมที่ไรเตอร์หลายคนหรือหลายกลุ่มนัดกันสร้างผลงานร่วมกัน โดยมีธีมไปในทิศทางเดียวกันหรือสอดคล้องกัน เช่น นัดกันพ่นคาแร็กเตอร์ประจำตัวของไรเตอร์แต่ละคนหรือพ่นชื่อกลุ่ม ชื่อตัวเอง หรือเปล่า ไรเตอร์อาจร่วมกันกำหนดวาระต่าง ๆ ขึ้นเอง

ขอขอบคุณขอมูลจาก

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%B9%E0%B8%94%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99

https://www.ain0410.com/graffiti-%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%97-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A2%E0%B8%81/

https://www.slideshare.net/peterartdt/ss-31160937

 

วัฒธรรมฮิปฮอปในไทย

[/et_pb_text][et_pb_image src=”https://www.dabth.com/wp-content/uploads/2022/11/rapconcert.jpg” alt=”วัฒธรรมฮิปฮอปในไทย” title_text=”rapconcert” _builder_version=”4.19.1″ _module_preset=”default” hover_enabled=”0″ global_colors_info=”{}” sticky_enabled=”0″][/et_pb_image][et_pb_text _builder_version=”4.19.1″ _module_preset=”default” global_colors_info=”{}”]

ดนตรีแร็ปได้เข้าสู่วงการเพลงของไทยในช่วงราวปี 2520 – 2530 ซึ่งเป็นช่วงสีสันทางดนตรีไทย และก่อกำเนิดค่ายเล็กค่ายย่อยมากมาย อาทิ นิธิทัศน์ โปรโมชั่น คีตา เรคคอร์ดส โดยเพลงแร็พไทยช่วงแรกจะใช้คำกลอนมาเรียบเรียงให้สมานสัมพันธ์สำบัดสำนวนให้ดูคล้องจอง

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row _builder_version=”4.19.1″ _module_preset=”default” global_colors_info=”{}”][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”4.19.1″ _module_preset=”default” global_colors_info=”{}”][et_pb_text _builder_version=”4.19.1″ _module_preset=”default” global_colors_info=”{}”]

ดนตรีแร็ป-ฮิปฮอปเริ่มประสบความสำเร็จมากขึ้นในปี 2538 เมื่อโจอี้ บอย หรือ อภิสิทธิ์ โอภาสเอี่ยมลิขิต ได้ออกอัลบั้ม โจอี้ บอย ซึ่งเป็นเพลงแร็ปทั้งอัลบั้มเป็นชุดแรกให้กับค่ายเบเกอรี่ มิวสิก ประจวบเหมาะกับที่กระแสดนตรีในเมืองไทยได้เริ่มออกจากกระแสหลักไปสู่แนวอิสระ ทำให้เพลงแร็ปได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น ต่อมาโจอี้ บอย ยังได้ก่อตั้งค่ายเพลงก้านคอคลับ ที่มีศิลปินฮิปฮอปชื่อดังอย่าง บุดด้า เบลส สิงห์เหนือเสือใต้ ฯลฯ ต่อมาในปี พ.ศ. 2543 ได้เกิดวงแร็ปเปอร์หน้าใหม่ ชื่อ ไทยเทเนี่ยม (ประกอบด้วยสมาชิก ขันเงิน เนื้อนวล จำรัส ทัศนละวาด และปริญญา อินทชัย) เป็นกลุ่มเพื่อนที่รวมตัวกันที่นิวยอร์ก และมีเอกลักษณ์จากทรงผมและการแต่งตัวที่เต็มไปด้วยเครื่องประดับ ต่อมาวงไทเทเนี่ยมได้เข้าไปอยู่ในค่ายสนามหลวงในเครือของจี เอ็ม เอ็ม แกรมมี่ ที่มีเพลงฮิตอย่างเพลง “ทะลึ่ง” (พ.ศ. 2548) “Love for my city” (พ.ศ. 2557) “บ่องตง” (พ.ศ. 2559) ฯลฯ จนกลายเป็นขวัญใจแฟนเพลงวัยรุ่นไทยที่ชื่นชอบเพลงแร็ปจนถึงปัจจุบัน

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row _builder_version=”4.19.1″ _module_preset=”default” global_colors_info=”{}”][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”4.19.1″ _module_preset=”default” global_colors_info=”{}”][et_pb_text _builder_version=”4.19.1″ _module_preset=”default” global_colors_info=”{}”]

วัฒธรรมฮิปฮอปในไทย ที่มีต่อสังคม

[/et_pb_text][et_pb_text _builder_version=”4.19.1″ _module_preset=”default” global_colors_info=”{}”]

สิ่งที่ทำให้ดนตรีแร็ปในประเทศไทยเป็นเริ่มที่นิยมนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของกระแสหรือค่านิยมจากการรับวัฒนธรรมดนตรีแร็ป-ฮิปฮอป จากสหรัฐอเมริกามาในยุค 90s แต่ถ้ามองอีกมุมหนึ่งจะเห็นได้ว่า ความเป็นดนตรีแร็ปและเอกลักษณ์ในตัวดนตรีมีเสน่ห์ดึงดูดใจผู้คนเป็นอย่างมาก ด้วยรูปแบบเพลง จังหวะสไตล์ต่างๆ เนื้อหาและภาษาที่ให้อิสระศิลปินในการจินตนาการ และใช้ความคิดสร้างสรรค์สร้างกลอนด้นเป็นบทกวีและบทเพลง ปัจจัยเหล่านี้มีส่วนอย่างมากที่ทำให้คนไทยให้ความสนใจแนวดนตรีชนิดนี้มากขึ้น 

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row _builder_version=”4.19.1″ _module_preset=”default” global_colors_info=”{}”][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”4.19.1″ _module_preset=”default” global_colors_info=”{}”][et_pb_text _builder_version=”4.19.1″ _module_preset=”default” global_colors_info=”{}”]

เสน่ห์ของดนตรีแร็ปที่สำคัญ

[/et_pb_text][et_pb_text _builder_version=”4.19.1″ _module_preset=”default” global_colors_info=”{}”]

คือการมีรากฐานมาจากการเล่าเรื่องชีวิต ปัญหาของสังคม ความรุนแรง ยาเสพติด และความไม่ยุติธรรม การเสพดนตรีแร็ปจึงเปรียบเสมือนการที่ได้พูดได้ฟังสิ่งที่เป็นจริง โดยใช้เสียงเพลงปลดปล่อยตัวเองออกจากสังคมที่เราถูกปิดกั้น และนี่จึงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เพลงแร็ปได้รับความนิยมมากขึ้นในประเทศไทย ทั้งนี้ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะคนไทยส่วนมากถูกกดดันด้วยกรอบทางวัฒนธรรมและประเพณีดั้งเดิม ที่ถูกสอนให้เชื่อฟังคำสั่งของผู้ใหญ่ ผู้มีอำนาจ การที่ประชาชนและสื่อถูกควบคุมการแสดงความเห็น ความเชื่อ ด้วยตัวบทกฎหมายที่ห้ามการวิพากษ์วิจารณ์รัฐและบุคคลบางกลุ่มเพื่อความสงบเรียบร้อย ประชาชนจึงไม่มีอิสระในการแสดงความคิดเห็นต่อสังคม หรือแม้แต่แลกเปลี่ยนความเห็นในที่สาธารณะได้อย่างอิสระ ดนตรีแร็ปจึงเข้ามาทำหน้าที่เป็นช่องทางให้ผู้คนได้ปลดปล่อยสะท้อนปัญหาในใจของคนด้วยกลอนเพลง เสียงเพลง และจังหวะดนตรี การจัดการประชันแร็ป หรือ Rap Battle ในประเทศไทย

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row _builder_version=”4.19.1″ _module_preset=”default” global_colors_info=”{}”][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”4.19.1″ _module_preset=”default” global_colors_info=”{}”][et_pb_text _builder_version=”4.19.1″ _module_preset=”default” global_colors_info=”{}”]

ปัจจุบันฮิปฮอปได้กลับมาเป็นกระแสหลักอีกครั้ง

[/et_pb_text][et_pb_text _builder_version=”4.19.1″ _module_preset=”default” global_colors_info=”{}”]

วัฒธรรมฮิปฮอปในไทย ทั้งบนอินเทอร์เน็ตและโทรทัศน์ ศิลปินฮิปฮอปหน้าใหม่ๆ ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง รวมถึงการเกิดขึ้นของรายการทีวีที่มีกระแสตอบรับที่ดีมากอย่าง The Rapper ซึ่งเป็นตัวชี้วัดได้ว่าสิ่งที่ชาวฮิปฮอปได้ทำไปนั้นไม่สูญเปล่า และได้ผลตอบแทนที่เกินกว่าคำว่าคุ้มค่า “ตอนนั้นมันเริ่มต้นมาแบบเล็กมากๆ แค่เราเห็นเพื่อนๆ เติบโตไปในทางที่ตัวเองชอบก็รู้สึกดีแล้ว ตอนนี้ผลลัพธ์มันออกมาไกลกว่าที่เคยคิดไว้มาก” ดีเจ Knatz กล่าว จากความชอบส่วนตัวของกลุ่มคนเพียงไม่กี่คนเมื่อหลายสิบปีก่อน กลับกลายเป็นสิ่งที่สามารถเข้าถึงคนได้แทบจะทั่วประเทศ นับว่าเป็นเรื่องราวที่น่าจดจำ และเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับคนที่มีความเชื่อกับบางสิ่งบางอย่างในชีวิต และลงมือทำมันมาอย่างต่อเนื่องจนเป็นผลงอกเงยมาจนถึงทุกวันนี้

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row _builder_version=”4.19.1″ _module_preset=”default” global_colors_info=”{}”][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”4.19.1″ _module_preset=”default” global_colors_info=”{}”][et_pb_image src=”https://www.dabth.com/wp-content/uploads/2022/11/เรวัต_พุทธินันทน์.jpg” alt=”เรวัต พุทธินันทน์” title_text=”เรวัต_พุทธินันทน์” _builder_version=”4.19.1″ _module_preset=”default” hover_enabled=”0″ global_colors_info=”{}” sticky_enabled=”0″][/et_pb_image][et_pb_text _builder_version=”4.19.1″ _module_preset=”default” global_colors_info=”{}”]

เรวัต พุทธินันทน์ (ผู้บริหารจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ช่วงปีพ.ศ. 2509 – 2538)

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row _builder_version=”4.19.1″ _module_preset=”default” global_colors_info=”{}”][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”4.19.1″ _module_preset=”default” global_colors_info=”{}”][et_pb_text _builder_version=”4.19.1″ _module_preset=”default” global_colors_info=”{}”]

ขอขอบคุณข้อมูลลจาก

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AE%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%AE%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2

 

https://www.car.chula.ac.th/display7.php?bib=b1734092

 

https://www.gqthailand.com/views/article/slow-life-vs-fast-paced-life

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section]