Skate Culture คือ
Skate Culture คือ Skate Culture คือ ‘สเก็ตบอร์ด’ ซึ่งเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เริ่มต้นจากความคิดแค่ว่า ต้องการแก้ขัดความอยากที่ไม่ได้รับการสนอง แต่ในเวลาต่อมาไม่นาน กลับกลายเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมเปลี่ยนโลกที่เรียกว่า ‘Skate Culture’ หรือ ‘Skateboard Culture’ เพราะตลอดเส้นทางที่ผ่านมา แม้จะขรุขระหรือมีอุปสรรคกีดขวาง จุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมสเก็ตบอร์ด (Skate Culture) เนื่องจากสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทั้งด้านเชื้อชาติ หรือ ชาติพันธุ์ ความเชื่อ ทำให้สหรัฐอเมริกาถือได้ว่าเป็นประเทศต้นกำเนิดวัฒนธรรมระดับโลกหลายอย่าง ซึ่งวัฒนธรรมที่โดดเด่นอย่างหนึ่งสหรัฐอเมริกานั่นก็คือ วัฒนธรรมสเก็ตบอร์ด (Skate Culture) ที่เริ่มต้นมาจากการรวมกลุ่มของเหล่าคนที่เล่นกีฬาสเก็ตบอร์ดจนเกิดเป็นวัฒนธรรมที่โดดเด่น โดยกีฬาสเก็ตบอร์ดเริ่มต้นในช่วงปี 1950 แทนการโต้คลื่น (Surfing) เป็นที่นิยมของวัยรุ่นของแคลิฟอร์เนีย ซึ่งคนทั่วไปเรียกเด็กกลุ่มนี้ว่า “Sidewalk surfing” แต่ด้วยความอันตรายในการเล่นทำให้สเก็ตบอร์ดถูกห้ามเล่นในหลายๆแห่ง จนกลายเป็นกีฬาใต้ดิน ล้อหมุน: ผลัดจากลอนคลื่น สู่พื้นคอนกรีต ระหว่างปลายช่วงปี 1940 ถึงช่วงต้นปี 1950 แม้ว่าในเวลานั้น การเล่นกระดานโต้คลื่น (surfboard) เริ่มเป็นกิจกรรมยามว่างยอดนิยมของคนที่อาศัยอยู่ละแวกใกล้เคียงหาดทางตอนใต้ของแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา แต่กลับมีเหตุที่ทำให้การโต้คลื่นไม่ได้ราบรื่นอย่างที่หวัง เพราะทุกคนที่ตั้งใจมาโต้คลื่น […]
ทำไมต้องไถเซิร์ฟสเก็ต
ทำไมต้องไถเซิร์ฟสเก็ต ทำไมต้องไถเซิร์ฟสเก็ต ไม่ใช่แค่เมืองไทยที่เซิร์ฟสเก็ตกลายเป็นสเต็กจานร้อน ก่อนเคยเป็นที่นิยมในกลุ่มคนจำนวนนับนิ้วมือยังเหลือ มาวันนี้ลานสเก็ตผุดขึ้นใจกลางเมืองและตามห้างดัง กระทั่งดารา เน็ตไอดอล นักธุรกิจ พลเมืองไปจนถึงคณะผู้จัดอีเว้นต์ยังใช้เซิร์ฟสเก็ตเป็นจุดขาย เซิร์ฟไปเพื่อ ไถไปทำไม งานวิจัยของ Tim Seifert ด็อกเตอร์ด้านปรัชญาแห่ง Tim Seifert Memorial University of Newfoundland และงานวิจัยของ Michael Boyd นักจิตวิทยาการกีฬาแห่ง San Francisco State University ไปจนถึงงานวิจัยของ The University of Southern California (USC) พบว่า เมื่ออยู่บนแผ่นกระดานแคบๆติดล้อ สิ่งที่ได้มาก็คือ ความพึงพอใจและความสำเร็จ เมื่อทรงตัวได้หรือทำท่าต่างๆได้ ความพึงพอใจจะพุ่งกระฉูด ซึ่งจะตามมาด้วยความรู้สึกว่าตัวเองประสบความสำเร็จจากการลงแรงทำสิ่งที่ยากได้ ซึ่งเป็นความรู้สึกที่นักวิจัยกล่าวว่า ทำให้ผู้เล่นติดใจ ความท้าทายและการรู้สึกว่าควบคุมบางอย่างได้ การฝึกทรงตัวหรือทำท่าต่างๆบนบอร์ด หรือแม้แต่การหยิบบอร์ดออกไปไถทั้งที่รู้ว่ามันต้องมีเจ็บตัวกันบ้างล่ะน่า ผู้เล่นเป็นคนตัดสินใจเลือกสิ่งนั้นให้ตัวเองเอง เมื่อก้าวผ่านความกลัว เจ็บ อายไปได้ก็จะรู้สึกถึงการควบคุมบางอย่างในชีวิตตัวเองได้(บ้าง) ความเป็นอิสระ การฝึกเซิร์ฟสเก็ตคือกระบวนการอันโดดเดี่ยว เพราะกีฬาชนิดนี้เป็นเรื่องของการเล่นเอง-เจ็บเอง […]